วังต้ายวน
วังต้ายวน ชาวจีนผู้ซึ่งเคยเดินทางมายยังดินแดนต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้แต่งหนังสือชื่อ “บันทึกย่อเผ่าชาวเกาะ” บรรยายถึงสิ่งต่าง ๆ ที่เขาได้พบเห็นในระหว่างการเดินทาง ในหัวข้อที่บรรยายถึง “เสียน” ได้กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า
“เมื่อรัชกาลจื้อเจิ้ง ปีฉลู (ตรงกับปี พ.ศ.1892) เดือน 5 ฤดูร้อน เสียนยอมจำนนต่อหลอหู”
จากข้อความข้างต้นตีความได้ว่า เสียนยอมจำนนแล้วผนวกเข้ากับหลอหู (ละโว้) ในปี พ.ศ. 1892 ซึ่งเป็นเวลาก่อนการสถาปนาอาณาจักรอยุธยา 1 ปี (พ.ศ. 1893) แต่ก่อนเวลาที่สุโขทัยตกเป็นประเทศราชของอยุธยาถึง 29 ปี (พ.ศ.1921) ปัจจุบันมีความเชื่อกันว่า อาณาจักรอยุธยาเกิดจากการรวมตัวของกลุ่มเมืองสุพรรณภูมิกับเมืองบริวาร และกลุ่มเมืองละโว้กับเมืองบริวาร
สุพรรณภูมิและละโว้มีความสัมพันธ์ฉันเครือญาติจากการแต่งงาน ด้วยเหตุนี้การตีความคำว่า เสียน หมายถึง "อาณาจักรสุโขทัย"จึงดูเหมือนว่าจะขัดแย้งกับหลักฐานที่ปรากฏในหนังสือของวังต้ายวน
นอกจากนั้น เขายังได้พรรณานาถึงพลเมืองของเสียนไว้ดังนี้ “พลเมืองเป็นโจรสลัดกันมาก เมื่อใดก็ตามที่มีเหตุการณ์วุ่นวายขึ้นในเมืองอื่น พวกนี้จะลงเรือหลายร้อยลำที่บรรทุกสาคูจนเพียบแปร้ (ใช้เป็นเสบียงอาหาร) และเข้าโจมตีอย่างกล้าหาญ จนได้ทุกสิ่งที่ต้องการ”
คุณสมบัติของพลเมืองเสียนที่วังต้ายวนกล่าวว่ามีความรู้ความชำนาญทางทะเลนั้นไม่น่าจะเป็นพวกคนไทยจากสุโขทัย ซึ่งเป็นชาวดอนอยู่ลึกเข้าไปในผืนแผ่นดิน แต่น่าจะเป็นพวกคนไทยจากสุพรรณภูมิซึ่งอยู่ใกล้ทะเลมากกว่า
网页浏览总次数
2011年6月26日星期日
ปราสาทนครถม
ปราสาทนครถม
ปราสาทวัดนครธม เป็นปราสาทหลังที่ ๔ ที่คณะของเราจะได้เข้าชมเป็นหลังสุดท้ายในวันนี้ ซึ่งคณะของเรายังเวลาอีกไม่มากนักสำหรับการเที่ยวชม และพระหลายๆพระองค์เริ่มมีอาการอ่อนล้าจากการเที่ยวชมมาทั้งวัน เมื่อมาถึงนครธม ไกด์จึงได้เล่าประวัติของ นครธมให้ฟังแบบย่อๆ และนั่งรถผ่าน ก่อนที่จะแวะถ่ายรูปไว้เป็นที่ระลึก ก่อนที่จะเดินทางกลับสู่พักต่อไป
ปราสาทวัดนครธม เป็นปราสาทหลังที่ ๔ ที่คณะของเราจะได้เข้าชมเป็นหลังสุดท้ายในวันนี้ ซึ่งคณะของเรายังเวลาอีกไม่มากนักสำหรับการเที่ยวชม และพระหลายๆพระองค์เริ่มมีอาการอ่อนล้าจากการเที่ยวชมมาทั้งวัน เมื่อมาถึงนครธม ไกด์จึงได้เล่าประวัติของ นครธมให้ฟังแบบย่อๆ และนั่งรถผ่าน ก่อนที่จะแวะถ่ายรูปไว้เป็นที่ระลึก ก่อนที่จะเดินทางกลับสู่พักต่อไป
นครธม เป็นเมืองหลวงแห่งสุดท้ายและเมืองที่เข้มแข็งที่สุดของอาณาจักรขะแมร์ สถาปนาขึ้นในปลายคริสต์ศวรรษที่ 12 โดยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 มีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่ 9 ตารางกิโลเมตร อยู่ทางทิศเหนือของ นครวัด ภายในเมืองมีสิ่งก่อสร้างมากมายนับแต่สมัยแรกๆ และที่สร้างโดยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 และรัชทายาท ใจกลางพระนครเป็นปราสาทหลักของพระเจ้าชัยวรมัน เรียกว่า ปราสาทบายน และมีพื้นที่สำคัญอื่นๆ รายล้อมพื้นที่ชัยภูมิถัดไปทางเหนือ
ประตูทางเข้านครธมด้านใต้จุดเด่นที่สุดคือทางเข้าด้านใต้ ที่มีลักษณะเป็นหน้า 4 หน้า ก่อนจะเข้าสู่บริเวณนี้ จะเป็นแถวของยักษ์ (อสูร) ทางด้านขวา และเทวดาทางด้านซ้าย เรียงรายแบกพญานาคอยู่สองข้างสะพาน เมื่อเข้าสู่ใจกลางนครธมจะพบสิ่งก่อสร้างต่างๆ บริเวณประตูด้านใต้นี้ได้รับการอนุรักษ์ฟื้นฟูไว้ได้ดีกว่าบริเวณอื่นๆ
(ติดตามชมวีดีโอได้ที่นี่ ทัศนศึกษานครวัด -นครธม ตอนที่ ๑๓ ปราสาทนครธม)
เมื่อส่งพระเข้าสู่ที่พักเรียบแล้ว ผู้เขียนจึงได้ออกไปรับประทานอาหารค่ำกับ คุณป้าสำอางค์ (ซึ่งทำงานอยู่ที่บริษัท อรัญ – ศรีโสภณ ทราเวลซึ่งพระได้ฉันภัตตาหารเช้าตั้งแต่วันแรกของการเดินทาง) ที่ร้านอาหารSOPHEA ANGKOR PICH ซึ่งเป็นภัตตาคารแบบบุฟเฟ่ ค่าอาหารท่านล่ะ ๑๕ ดอลล่าร์สหรัฐ อาหารส่วนใหญ่มีรสชาติคล้ายกับอาหารไทย นอกจากนั้นยังมีการแสดงศิลปะพื้นบ้านของกัมพูชาให้ดูด้วย แต่ควรไปหัวค่ำๆ เพราะการแสดงจะจบในเวลา ๒๑.๐๐น. หลังจากรับประทานอาหารแล้วได้ขี่รถชมเมืองเสียมเรียบ ซึ่งมีความเงียบสงบ ผู้คนไม่พลุกพล่าน
ปราสาทนครวัด
ปราสาทนครวัดเป็น 1 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลกที่ฝรั่งต่างชาติต่างยอมรับในความสวยงาม เราจะเห็นได้ว่า 5 ใน 7 ของสิ่งมหัศจรรย์ของโลกล้วนแต่อยู่ในประเทศฝรั่งเศสและสหรัฐอเมริกา จะมีก็แต่เพียงปราสาทนครวัดและทัชมาฮาลเท่านั้นที่อยู่นอกประเทศทั้งสอง
ปราสาทนครวัด เป็นประสาทศิลาแลงขนาดใหญ่โตมโหฬาร ที่ตั้งอยู่ในประเทศกัมพูชา จัดเป็นปราสาทศิลาขนาดใหญ่ที่ยังคงอยู่ ตระหง่านท้ากาลเวลานานหลายร้อยปี ผู้ที่สร้างนครวัดขึ้นมาเป็นพระองค์แรกคือพระเจ้าสุริยะวรมัน ที่ 2 โดยพระองค์มีพระประสงค์ที่จะยกพระฐานของกษัตริย์กัมพูชาให้เทียบเท่ากับเทพเจ้า ปราสาทนครวัดแห่งนี้จึงเป็นที่สถิตของพระวิษณุ เทพเจ้าสำคัญพระองค์หนึ่งตามความเชื่อของชาวกัมพูชา และพระองค์ทรงใช้สถานที่แห่งนี้ในการเผาพระบรมศพของพระองค์
ต่อมาในยุคหลังกษัตริย์กัมพูชาองค์ต่อๆมา ได้ช่วยกันสานต่อเจตนาของบรรพบุรุษ มีการแต่งเติมและสิ่งก่อสร้างไปในแนวทางตามที่บรรพกษัตริย์ ในอดีตได้วางเอาไว้ ทำให้ชาวโลกมีโอกาสได้รับทราบถึงความเฉลียวฉลาดและความเป็นน้ำหนึ่งอันเดียวกันของชาวกัมพูชา
ต่อมาในยุคหลังกษัตริย์กัมพูชาองค์ต่อๆมา ได้ช่วยกันสานต่อเจตนาของบรรพบุรุษ มีการแต่งเติมและสิ่งก่อสร้างไปในแนวทางตามที่บรรพกษัตริย์ ในอดีตได้วางเอาไว้ ทำให้ชาวโลกมีโอกาสได้รับทราบถึงความเฉลียวฉลาดและความเป็นน้ำหนึ่งอันเดียวกันของชาวกัมพูชา
ภายในบริเวณของตัวปราสาทจะรายล้อมไปด้วยอาคารต่างๆมากมาย มีถนนยาวหลายกิโลเมตร มีคูคลอง อ่างเก็บน้ำเอาไว้ใช้ภายในตัวอาคารและทางเดินเชื่อมจากอาคารหนึ่งไปยังอีกหลังหนึ่ง ความสามารถของชาวกัมพูชาใช่ว่าจะด้อยไปกว่าชาติอื่นๆในโลก เพราะมีการจัดสร้างคูคลองเชื่อมต่อกันหลายสายทำให้มองดูเหมือนตาข่ายขนาดใหญ่ครอบตัวเมืองเอาไว้ ทั้งนี้เพราะในอดีตชีวิตของประชาชนจะอาศัยการเพาะปลูกเป็นหลักในการดำรงชีวิต น้ำจึงเป็นเสมือนปัจจัยหลักสำคัญที่ช่วยให้การเพาะปลูกและการดำเนินชีวิตเป็นไปด้วยดี
นอกจากความสามารถในการออกแบบตัวอาคารและการเชื่อมโยงคูคลองต่างๆเข้าหากันแล้วนั้น ตัวปราสาทนครวัดก็เป็นโบราณสถานที่แสดงให้เห็นถึงศิลปะการแกะสลักอันปราณีตของชาวกัมพูชาในอดีต บนศิลาจะเต็มไปด้วยภาพแกะสลักตามความเชื่อในอดีต ไม่ว่าจะเป็นการดำรงชีวิตของเทวดาและอสูรหรือการประกอบพิธีกรรมต่างๆในอดีต
เมื่อลองย้อนกลับไปดูในอดีต จะพบว่าในยุคหลังต่อมา พระเจ้าชัยวรมันที่ 1 ได้สถาปนาเมืองแห่งนี้เป็นเมืองหลวง มีชื่อว่า ยโสธรปุระ ซึ่งแรกเริ่มเดิมทีนั้นยังไม่ได้มีขนาดใหญ่โตอะไรมากมายนัก แต่ต่อมาภายหลังพระองค์ทรงวางแผนที่จะขุดคูน้ำล้อมรอบพื้นที่ มีการขุดสระเพื่อทำเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่เพื่อเป็นแหล่งเก็บกักน้ำไว้ใช้ในการเกษตร และกษัตริย์ในรุ่นหลังๆก็ได้ปฏิบัติตามแนวพระราชดำริ ทำให้ตัวเมืองขยายใหญ่มากขึ้น
สิ่งหนึ่งที่เป็นจุดสังเกตุและเป็นที่ที่ทุกคนเข้าเยี่ยมชมจะต้องไปดูกันให้ได้ก็คือ ภาพใบหน้าที่เปี่ยมไปด้วยรอยยิ้มที่ปรากฎอยู่บนอาคาร ทำให้ได้รับการขนานนามว่าเป็น "รอยยิ้มแห่งพระนคร"ทุกวันนี้ถึงแม้ว่าปราสาทวัดจะเหลือไว้แค่ซากปรักหักพัง แต่ก็ยังไว้ซึ่งมนคลัง และมนเสน่ห์ที่ชวนให้คิดถึงความเจริญรุ่งเรืองในครั้งอดีตของสถานที่แห่งนี้อยู่มิรู้ลืม
2011年6月21日星期二
คนไทยมาจากไหน
ความจริงข้อหนึ่งที่ผู้ศึกษาประวัติศาสตร์ทุกคนรู้ดีก็คือว่าเรื่องราวที่เพิ่งเกิดขึ้นหรือประวัติศาสตร์ที่ไม่ไกลตัวจนเกินไปนักย่อมอยู่ในความทรงจำหรือทำการศึกษาได้ง่ายกว่าเรื่องราวที่ไกลตัวออกไป ยิ่งเป็นเรื่องที่ไกลขนาดร้อย ๆ พัน ๆ ปีขึ้นไปด้วยแล้วยิ่งลำบาก สาเหตุก็เพราะจำกัดในหลักฐานสำหรับค้นคว้ายืนยันความจริงนั่นเอง
ปัจจุบันถ้ามีคนถามเราว่า “คนไทยมาจากไหน” เราคงจะตอบไม่ได้ง่าย ๆ เมื่อก่อนถ้ามีผู้มาถามเราเช่นนี้ เราก็คงตอบไปว่า “มาจากภูเขาอัลไต” หรือ "มาจากมณฑลเสฉวน บริเวณตรงกลางของประเทศจีน” แต่ปัจจุบัน การศึกษาคนคว้าในเรื่องนี้มีมากขึ้น ทำให้ข้อสันนิษฐานที่แตกต่างไปจากเดิมมีมากขึ้นด้วย
ขณะนี้ไม่มีนักประติศาสตร์ท่านใดสามารถสรุปได้ว่าชนชาติไทยมาจากไหนกันแน่ แต่เท่าที่ค้นคว้ากันมา มีความเชื่อต่าง ๆ กันดังนี้
๑. เดิมคนไทยอยู่ในบริเวณมณฑลเสฉวน ตรงลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียงในตอนกลางของประเทศจีนปัจจุบัน แล้วค่อยอพยพมาทางตอนใต้ของจีน จากนั้นก็ลงมาสู่แหลมอินโดจีน ผู้เสนอความคิดนี้เป็นคนแรกก็คือ Terrien de la Couperie เขาเสนอผลงานเรื่อง The Cradle of the Shan Race (2428) คนไทยที่เชื่อตามทฤษฎีนี้มีหลายคน เช่น สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ หลวงวิจิตรวาทการ และรอง ศยามานนท์ เป็นต้น
๒. เดิมคนไทยอยู่ในบริเวณเทือกเขาอัลไต หมอสอนศาสนาชาวอเมริกันเป็นผู้เสนอความคิดนี้ เขาคือ William Clifton Dodd งานเขียนเรื่อง The Tai Race : The Eider Brother of the Chinese (2452) เป็นที่สนใจของนักประวัติศาสตร์อย่างกว้างขวาง และมีอิทธิพลต่องานของ W.A.R. Wood ในเรื่อง A History of Siam และขุนวิจิตรมาตรา ในเรื่อง “หลักไทย”
๓. เดิมคนไทยอยู่กระจัดกระจายทั่วไปในบริเวณทางตอนใต้ของจีนและทางตอนเหนือของภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตลอดจนบริเวณแคว้นอัสสัมในอินเดีย ผู้ที่เสนอความคิดนี้ก็คือ ArchibaI R. Colguhoun เขาเป็นชาวอังกฤษ เดินทางสำรวจดินแดนตั้งแต่ทางภาคใต้ของจีนจากกวางตุ้งเข้าไปในพม่า จากนั้นเขาก็เขียนหนังสือเรื่อง Chryse (2428) ต่อมาความคิดนี้ได้รับความสนใจนำไปค้นคว้าต่อ คนสำคัญที่นำความคิดนี้ไปขยายต่อก็มีเช่น E.H. Parker เขาค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องน่านเจ้าพระยาประชากิจกรจักร (แช่ม บุนนาค) ผู้เขียนพงศาวดารโยนกก็เชื่อว่า คนไทยมาจากทางตอนใต้ของจีน นอกจากนี้ยังมีคนอื่น ๆ เช่น G. Coedes W. Credner W. Eberhard F. Mote ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล ขจร สุขพานิช และจิตร ภูมิศักดิ์ ฯลฯ เมื่อไม่นานมานี้ก็มีคนทำวิทยานิพนธ์ปริณญาเอกทางด้านประวัติศาสตร์ศิลปะที่ให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องการอพยพของชนชาติไทย เขาคือ H.W. Woodward นักประวัติศาสตร์ผู้นี้เชื่อว่าแนวทางอพยพของคนไทยอาจมาทางลาวและลุ่มแม่น้ำป่าสักลงสู่ภาคกลางของประเทศไทย
๔. คนไทยไม่ได้มาจากไหน แต่ถิ่นเดิมของคนไทยก็คือบริเวณพื้นที่ประเทศไทยปัจจุบัน นักวิชาการที่เสนอความคิดนี้ก็คือ PauI Benedict นักภาษาศาสตร์และมานุษยวิทยาชาวอเมริกัน เขาค้นคว้าเรื่องชนชาติไทยโดยใช้หลักฐานด้านภาษาศาสตร์ จากการค้นคว้าทำให้เขาเชื่อว่าภาษาไทยเป็นภาษาใหญ่ของชนชาติเอเชีย อยู่ในตระกูลออสตริก หรือออสโตรนีเซียน แยกสาขาเป็นพวกไทย ชวา-มลายู และทิเบต-พม่า ดังนั้นเผ่าพันธุ์ของคนไทยจึงไม่น่าจะเป็นพวกมองโกล แต่น่าจะเป็นพวกชวา-มลายู ประมาณ ๔,๐๐๐-๓,๕๐๐ ปี การรุกรานของพวกมอญ เขมร จากอินเดีย เข้ามาในแหลมอินโดจีน น่าจะเป็นเหตุทำให้คนไทยขึ้นไปทางใต้ของจีน แต่เมื่อถูกจีนรุกรานก็ต้องถอยร่นไปในเขตแคว้นอัสสัม ฉาน ลาว ไทย และบริเวณตังเกี๋ยหรือบริเวณเวียดนามเหนือปัจจุบัน นักวิชาการที่สนับสนุนความคิดนี้ก็มี นายแพทย์สุด แสงวิเชียร ผู้ค้นคว้าโดยอาศัยหลักฐานจากการเปรียบเทียบโครงกระดูกมนุษย์สมัยหินที่ขุดค้นพบในบริเวณจังหวัดกาญจนบุรี
๕. เดิมคนไทยอยู่ในบริเวณคาบสมุทรมลายูและหมู่เกาะต่าง ๆ ในอินโดนีเชียก่อน แล้วต่อมาก็อพยพเข้าสู่บริเวณประเทศไทยปัจจุบัน ความคิดนี้ค่อนข้างใหม่มาก ผู้เสนอคือ สมศักดิ์ สุวรรณสมบูรณ์ เขาใช้หลักฐานทางด้านการแพทย์ คือการสุ่มตัวอย่างกลุ่มเลือดของคนไทยกับอินโดจีนปัจจุบัน ปรากฏว่ามีความคล้ายคลึงกัน
จากที่กล่าวมาทั้งหมดก็แสดงให้เห็นว่า ปัญหาเรื่องความเป็นมาของคนไทยก่อนสมัยประวัติศาสตร์ยังไม่ยุติ แต่เท่าที่เราสามารถยึดถือได้ชั่วคราวก็คือความเชื่อของนักวิชาการที่ได้รับความนิยมในข้อ ๒ และ ๓ นั่นคือคนไทยอพยพจากถิ่นอื่นเข้ามาในบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา และแนวการอพยพเป็นแนวเหนือลงมาทางใต้ กระจัดกระจายตามบริเวณที่ใกล้เคียงกันทางตอนใต้ของจีน เช่น ตามบริเวณมณฑลเสฉวน ยูนนาน แคว้นอัสสัม ฉาน ตอนเหนือของเวียดนาม ลาว และกัมพูชา เป็นต้นส่วนความเชื่อในข้อ ๔ และ ๕ นับว่าค่อนข้างใหม่ ยังไม่เป็นที่ยอมรับหรือมีอิทธิพลอย่างกว้างขวางต่อความเข้าใจของคนไทยในด้านความเป็นมาของตนเอง อย่างไรก็ดี สำหรับความเชื่อในข้อ ๔ กำลังเป็นที่ยอมรับและเป็นที่สนใจมากขึ้นในปัจจุบัน
ข้อมูลนี้รวบรวมโดย พรเพ็ญ ฮั่นตระกูล จากหนังสือ “เอกสารประกอบการให้ความรู้ทางวัฒนธรรมไทยแก่ผู้เดินทางไปตางประเทศ” ของสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
“ข้อมูลสนับสนุนจากหนังสือ ๑๐๘ ซองคำถาม / สำนักพิมพ์สารคดี”
2011年6月20日星期一
จิ่วจ้ายโกว
หุบเขาจิ่วจ้ายโกว
พิกัด: 33°13′″N, 103°55′″E
ประเทศ:จีน
ที่ตั้ง:มณฑลเสฉวน
จัดตั้ง:2521
พื้นที่: 600-720 ตารางกิโลเมตร
นักท่องเที่ยว: 1,190,000 คน (ปีงบประมาณ 2545)
สภาพทางภูมิศาสตร์
---------------------------------------------------------------------------------
จิ่วจ้ายโกวตั้งอยู่ทางตอนใต้สุดของเทือกเขาหมินซาน ห่างจากเมืองเฉิงตูไปทางเหนือ 330 กิโลเมตร ถือเป็นส่วนหนึ่งของเทศมณฑล Nanping ในเขตปกครองตนเองชนชาติทิเบตและเชียงอาป้า ทางตะวันตกเฉียงเหนือของมณฑลเสฉวน ใกล้เขตแดนของมณฑลกานซู
บริเวณหุบเขามีพื้นที่อย่างน้อย 240 ตารางกิโลเมตร ขณะที่องค์กรด้านการอนุรักษ์บางแห่งกำหนดให้มีพื้นที่ 600-700 ตารางกิโลเมตร โดยมีพื้นที่กันชนเพิ่มเข้ามา 400 - 600 ตารางกิโลเมตร ระดับความสูงจะแตกต่างไปตามแต่ละพื้นที่ โดยมีทั้งพื้นที่มีมีความสูง 1,998 - 2,140 เมตร (ที่ปากทางเข้าหุบเขาซูเจิ้ง) ไปจนถึง 4,558 - 4,764 เมตร (บนภูเขา Ganzigonggai ที่ส่วนยอดสุดของหุบเขา Zechawa)
สภาพอากาศในหุบเขาจัดว่าหนาวเย็น ตลอดปีมีอุณหภูมิเฉลี่ย 7.2 °C เดือนมกราคม -1 °C และเดือนกรกฎาคม 17 °C ปริมาณน้ำฝนตลอดทั้งปี 661 มิลลิเมตร โดยเป็นปริมาณระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงตุลาคมราว 80%
ข้อมูลทางประวัติศาสตร์
---------------------------------------------------------------------------------
พื้นที่อันห่างไกลแห่งนี้มีชาวทิเบตและเชียงตั้งรกรากอยู่มานานหลายศตวรรษ แต่ไม่ได้มีการสำรวจอย่างเป็นทางการจนกระทั่งปี พ.ศ. 2515 มีการทำธุรกิจตัดไม้อย่างหนักจนถึงปี พ.ศ. 2522 ซึ่งรัฐบาลจีนได้สั่งห้ามกิจการดังกล่าว และประกาศพื้นที่นี้เป็นอุทยานแห่งชาติในปี พ.ศ. 2525 จนกระทั่ง พ.ศ. 2527 จึงได้เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชม โดยการวางกฎระเบียบและสถานที่ต่างๆภายในอุทยานเสร็จสมบูรณ์ใน พ.ศ. 2531 และในปี พ.ศ. 2535 องค์การยูเนสโกได้ประกาศพื้นที่นี้ให้เป็นมรดกโลก และเป็น World Biosphere Reserve ใน พ.ศ. 2540
ตั้งแต่เริ่มเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชม จำนวนนักท่องเที่ยวได้เพิ่มมากขึ้นทุกปี โดยในปี พ.ศ. 2527 มีนักท่องเที่ยว 5,000 คน พ.ศ. 2534 มี 170,000 คน พ.ศ. 2538 มี 160,000 คน และ พ.ศ. 2540 มี 200,000 คน โดยเป็นชาวต่างชาติประมาณ 3,000 คน ปี พ.ศ. 2545 มีผู้เยี่ยมชม 1,190,000 คน และในปี พ.ศ. 2547 มีผู้เยี่ยมชมเฉลี่ยวันละ 7,000 คน
พิกัด: 33°13′″N, 103°55′″E
ประเทศ:จีน
ที่ตั้ง:มณฑลเสฉวน
จัดตั้ง:2521
พื้นที่: 600-720 ตารางกิโลเมตร
นักท่องเที่ยว: 1,190,000 คน (ปีงบประมาณ 2545)
สภาพทางภูมิศาสตร์
---------------------------------------------------------------------------------
จิ่วจ้ายโกวตั้งอยู่ทางตอนใต้สุดของเทือกเขาหมินซาน ห่างจากเมืองเฉิงตูไปทางเหนือ 330 กิโลเมตร ถือเป็นส่วนหนึ่งของเทศมณฑล Nanping ในเขตปกครองตนเองชนชาติทิเบตและเชียงอาป้า ทางตะวันตกเฉียงเหนือของมณฑลเสฉวน ใกล้เขตแดนของมณฑลกานซู
บริเวณหุบเขามีพื้นที่อย่างน้อย 240 ตารางกิโลเมตร ขณะที่องค์กรด้านการอนุรักษ์บางแห่งกำหนดให้มีพื้นที่ 600-700 ตารางกิโลเมตร โดยมีพื้นที่กันชนเพิ่มเข้ามา 400 - 600 ตารางกิโลเมตร ระดับความสูงจะแตกต่างไปตามแต่ละพื้นที่ โดยมีทั้งพื้นที่มีมีความสูง 1,998 - 2,140 เมตร (ที่ปากทางเข้าหุบเขาซูเจิ้ง) ไปจนถึง 4,558 - 4,764 เมตร (บนภูเขา Ganzigonggai ที่ส่วนยอดสุดของหุบเขา Zechawa)
สภาพอากาศในหุบเขาจัดว่าหนาวเย็น ตลอดปีมีอุณหภูมิเฉลี่ย 7.2 °C เดือนมกราคม -1 °C และเดือนกรกฎาคม 17 °C ปริมาณน้ำฝนตลอดทั้งปี 661 มิลลิเมตร โดยเป็นปริมาณระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงตุลาคมราว 80%
ข้อมูลทางประวัติศาสตร์
---------------------------------------------------------------------------------
พื้นที่อันห่างไกลแห่งนี้มีชาวทิเบตและเชียงตั้งรกรากอยู่มานานหลายศตวรรษ แต่ไม่ได้มีการสำรวจอย่างเป็นทางการจนกระทั่งปี พ.ศ. 2515 มีการทำธุรกิจตัดไม้อย่างหนักจนถึงปี พ.ศ. 2522 ซึ่งรัฐบาลจีนได้สั่งห้ามกิจการดังกล่าว และประกาศพื้นที่นี้เป็นอุทยานแห่งชาติในปี พ.ศ. 2525 จนกระทั่ง พ.ศ. 2527 จึงได้เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชม โดยการวางกฎระเบียบและสถานที่ต่างๆภายในอุทยานเสร็จสมบูรณ์ใน พ.ศ. 2531 และในปี พ.ศ. 2535 องค์การยูเนสโกได้ประกาศพื้นที่นี้ให้เป็นมรดกโลก และเป็น World Biosphere Reserve ใน พ.ศ. 2540
ตั้งแต่เริ่มเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชม จำนวนนักท่องเที่ยวได้เพิ่มมากขึ้นทุกปี โดยในปี พ.ศ. 2527 มีนักท่องเที่ยว 5,000 คน พ.ศ. 2534 มี 170,000 คน พ.ศ. 2538 มี 160,000 คน และ พ.ศ. 2540 มี 200,000 คน โดยเป็นชาวต่างชาติประมาณ 3,000 คน ปี พ.ศ. 2545 มีผู้เยี่ยมชม 1,190,000 คน และในปี พ.ศ. 2547 มีผู้เยี่ยมชมเฉลี่ยวันละ 7,000 คน
2011年6月13日星期一
ประวัติศาสตร์คืออะไร
คำว่า ประวัติศาสตร์ ใช้กันใน 2 ลักษณะคือ
หลักฐานทางประวัติศาสตร์
หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรแยกได้เป็น 3 พวกคือ
ประโยชน์ของประวัติศาสตร์
ช่วยสนองความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องแทนการคาดเดา หรือความเชื่อถือที่ปราศจากหลักฐาน เป็นบันทึกประสบการณ์ของมนุษยชาติที่มีคุณค่าควรแก่การศึกษาเพื่อเป็นบทเรียน ช่วยให้เกิดความรักความภาคภูมิใจในชาติ มีความตระหนักในคุณค่าของมรดกด้านต่างๆ ช่วยให้รู้จักและเข้าใจในเรื่องของโลก และเรื่องของเพื่อนมนุษยชาติที่กว้างขวางออกไป ฝึกให้คนรู้จักใช้เหตุผลในการพิจารณาเหตุการณ์ต่างๆ ช่วยในการทำนายอนาคต
การแบ่งยุคประวัติศาสตร์
- แหล่งข้อมูลปฐมภูมิ ได้แก่ เรื่องราวของเหตุการณืที่บันทึกไว้โดยผู้รู้เห็น หรือเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์นั้นโดยตรง
- แหล่งข้อมูลทุติยภูมิ ได้แก่ บทความหรือรายงานของนักวิชาการทั้งในด้านประวัติศาสตร์ และสาขาวิชาการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
- แหล่งข้อมูลตติยภูมิ ได้แก่ เอกสารทางประวัติศาสตร์ที่ผู้อื่นเรียบเรียงไว้ สารานุกรม และเอกสารทางวิชาการอื่นๆ
หลักฐานที่เป็นวัตถุ ได้แก่ โบราณวัตถุ โบราณสถาน เงินตรา ฯลฯ
- ประวัติศาสตร์ หมายถึง เหตุการณ์ทั้งหมดที่เกิดขึ้นในอดีต และสิ่งที่มนุษย์ได้กระทำ หรือสร้างแนวความคิดไว้ทั้งหมด รวมถึงเหตุการณ์ที่เกิดจากเจตจำนงของมนุษย์ ตลอดจนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญ หรือธรรมชาติที่มีผลต่อมนุษยชาติ
- ประวัติศาสตร์ ได้แก่ เหตุการณ์ในอดีตที่นักประวัติศาสตร์ได้สืบสวนค้นคว้าแสวงหาหลักฐานมารวบรวมและเรียบเรียงขึ้น เนื่องจากเรื่องราวของมนุษย์ในอดีตมีขอบเขตกว้างขวาง และมีความสำคัญแตกต่างมากน้อยลดหลั่นกันไป นักวิทยาศาสตร์จึงหยิบยกขึ้นมาศึกษาเฉพาะแต่สิ่งที่ตนเห็นว่ามีความหมายและมีความสำคัญ
หลักฐานทางประวัติศาสตร์
หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรแยกได้เป็น 3 พวกคือ
ประโยชน์ของประวัติศาสตร์
ช่วยสนองความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องแทนการคาดเดา หรือความเชื่อถือที่ปราศจากหลักฐาน เป็นบันทึกประสบการณ์ของมนุษยชาติที่มีคุณค่าควรแก่การศึกษาเพื่อเป็นบทเรียน ช่วยให้เกิดความรักความภาคภูมิใจในชาติ มีความตระหนักในคุณค่าของมรดกด้านต่างๆ ช่วยให้รู้จักและเข้าใจในเรื่องของโลก และเรื่องของเพื่อนมนุษยชาติที่กว้างขวางออกไป ฝึกให้คนรู้จักใช้เหตุผลในการพิจารณาเหตุการณ์ต่างๆ ช่วยในการทำนายอนาคต
การแบ่งยุคประวัติศาสตร์
- แหล่งข้อมูลปฐมภูมิ ได้แก่ เรื่องราวของเหตุการณืที่บันทึกไว้โดยผู้รู้เห็น หรือเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์นั้นโดยตรง
- แหล่งข้อมูลทุติยภูมิ ได้แก่ บทความหรือรายงานของนักวิชาการทั้งในด้านประวัติศาสตร์ และสาขาวิชาการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
- แหล่งข้อมูลตติยภูมิ ได้แก่ เอกสารทางประวัติศาสตร์ที่ผู้อื่นเรียบเรียงไว้ สารานุกรม และเอกสารทางวิชาการอื่นๆ
หลักฐานที่เป็นวัตถุ ได้แก่ โบราณวัตถุ โบราณสถาน เงินตรา ฯลฯ
- ก่อนประวัติศาสตร์
สมัยหิน แบ่งเป็น 3 ยุคคือ
- ยุคหินเก่า มนุษย์รู้จักทำเครื่องมือด้วยหินอย่างหยาบๆ ด้วยการกระเทาะให้เป็นรูปร่างและมีคม ดำรงชีวิตด้วยการเก็บกินจากธรรมชาติ อยู่เป็นกลุ่มเล็กๆ
- ยุคหินกลาง ประมาณ 8,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช เครื่องมือมีความประณีต มีมากแบบมากชนิดขึ้น เริ่มมีสัตว์เลี้ยง เช่น สุนัขเพื่อใช้ในการล่าสัตว์ และเฝ้าที่อยู่อาศัย
- ยุคหินใหม่ ประมาณ 6,000 ปีก่อนคริสต์กาล รู้จักขัดเกลาเครื่องมือหินให้แหลมคมและเรียบร้อยขึ้น รู้จักนำกระดูกมาดัดแปลงเป็นเครื่องใช้ และที่สำคัญคือรู้จักเลี้ยงปศุสัตว์และทำการเพาะปลูก
- สมัยสัมฤทธิ์ มนุษย์รู้จักผสมดีบุกกับทองแดงเป็นทองสัมฤทธิ์ สมัยสัมฤทธิ์เริ่มขึ้นประมาณ 3,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช สมัยนี้พบโลหะอื่นที่ราคาถูกและมีประสิทธิภาพกว่า คือ เหล็ก และในสมัยสัมฤทธิ์นี้มนุษย์รู้จักใช้แรงงานสัตว์ในการไถนาและชักลาก รู้จักการควบคุมแหล่งน้ำด้วยการชลประทาน และที่สำคัญที่สุดคือ มนุษย์ได้ประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้
- สมัยเหล็ก ประมาณ 1,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช มีการนำเหล็กมาใช้ทำเครื่องมือและอาวุธ
- สมัยประวัติศาสตร์
- สมัยโบราณ เริ่มเมื่อประมาณ 5,000 – 3,000 ปี ก่อนคริสต์ศักราช จนถึงประมาณริสต์ศตวรรษที่ 5 ในช่วงเวลาดังกล่าวได้เกิดแหล่งอารยธรรมสำคัญของโลกตามบริเวณลุ่มแม่น้ำใหญ่ต่างๆ เช่น แม่น้ำไนล์ ยุเฟรติส-ไทกริส สินธุ และฮวงโห
- สมัยกลาง เป็นสมัยที่อาณาจักรโรมันกว้างใหญ่ครอบคลุมบริเวณอารยธรรมโบราณทางตะวันออกใกล้แหลมบอลข่าน และกว่าครึ่งของยุโรปตะวันตกได้แตกสลายไป อนารยชนเผ่าต่างๆ เข้าครอบครองแทนที่ความเจริญรุ่งเรือง ที่สืบเนื่องกันมาหลายพันปีได้เสื่อมสลายลงยุโรป กลับตกอยู่ในสภาพที่ต่ำกว่าเดิมในด้านอารยธรรม จนมีการให้ชื่อยุคต่อมาว่ายุคมืด
- สมัยใหม่ เริ่มตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 15 เป็นต้นมา นักประวัติศาสตร์มิได้มีความเห็นตรงกันตั้งหมดว่าควรถือเอาปรากฎการณ์ใดเป็นจุดเริ่มต้นของยุคใหม่ บางคนถือเอาการปฎิรูปศาสนาเป็นการเริ่มสมัยใหม่ของยุโรป แต่นักประวัติศาสตร์คนอื่นอาจยึดเอาปีที่กรุงคอนสแตนติโนเปิลเสียแก่พวกเตอร์ก เป็นปีสิ้นสุดของสมัยกลาง แต่โดยทั่วไปถือเอาคริสต์ศตวรรษที่ 15 เพราะมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญหลายด้าน
订阅:
博文 (Atom)