网页浏览总次数

2011年7月19日星期二

อุทยานประวัติศาสตร์ในประเทศไทย

                  อุทยานประวัติศาสตร์ในประเทศไทย
      
           การอนุรักษ์ บูรณะและพัฒนาแหล่งโบราณวัตถุสถานที่สำคัญของชาติ ได้มีการดำเนินการเป็นลำดับ ในความรับผิดชอบของกรมศิลปากร อย่างไรก็ตามความต่อเนื่องจริงจังอย่างเห็นได้ชัดนั้นเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๙๙ เริ่มตั้งแต่การขุดแต่ง บูรณะ ขึ้นทะเบียนโบราณสถาน จนถึงประกาศเป็นเขตอุทยานประวัติศาสตร์ ซึ่งเริ่มที่จังหวัดอยุธยาก่อน แล้วจึงแพร่ขยายออกไปทั่วประเทศ จนถึงปี พ.ศ. ๒๕๒๔ ได้มีโครงการอุทยานประวัติศาสตร์ ตามแหล่งโบราณสถานที่สำคัญๆ ทั่วประเทศ รวม ๙ แห่ง ด้วยกัน คือ
              ๑. อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย

           ๒. อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย

           ๓. อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร

           ๔. อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ

            ๕. อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย

           ๖. อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง

           ๗. อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์

           ๘. อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา

           ๙. อุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรี 
       

           พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ปฐมกษัตริยราชวงศ์พระร่วงได้สถาปนาอาณาจักรสุโขทัย อันมีกรุงสุโขทัยเป็นราชธานีขึ้น เมื่อปี พ.ศ. ๑๘๐๐ และได้สืบสันตติวงศ์ต่อมาอีก ๕ พระองค์ คือ พ่อขุนบาลเมือง พ่อขุนรามคำแหงมหาราช พญาเลอไทย พญาลิไทย พญาไสลือไทย จนถึงปี พ.ศ. ๑๙๒๑ จากนั้นกรุงสุโขทัยก็ตกเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรศรีอยุธยา กษัตริย์ราชวงศ์พระร่วงอีก ๒ พระองค์ จึงอยู่ในฐานะเป็นเจ้าเมืองขึ้น

      ภายในเมืองสุโขทัยประกอบด้วยส่วนที่เป็นพระราชวัง และศาสนสถานที่สำคัญ ๆ มีคูเมืองและกำแพงเมืองล้อมรอบเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส นอกกำแพงเมืองออกไปโดยรอบทั้งสี่ด้าน มีโบราณสถานต่าง ๆ ตั้งอยู่อีกเป็นจำนวนมาก รวมพื้นที่ที่ครอบคลุมโบราณสถานของเมืองสุโขทัยทั้งหมด มีประมาณ ๔๐,๐๐๐ ไร่

           บรรดาศิลปกรรมและสถาบัตยกรรมอันงามสง่าของเมืองสุโขทัย แสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองทั้งด้านวัตถุและด้านจิตใจ อย่างไม่มีอาณาจักรใดในสุวรรณภูมิในยุคนั้นมาเทียบเทียมได้ นับเป็นมรดกอันล้ำค่าของไทยที่มีค่าควรแก่ความภาคภูมิใจของชาวไทยและแก่มนุษยชาติ องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ตระหนักถึงคุณค่าดังกล่าว จึงได้ประกาศให้อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยเป็น "มรดกโลก" เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๕

           พ่อขุนรามคำแหงมหาราชได้ทรงอาราธนา พระภิกษุสงฆ์จากนครศรีธรรมราชเข้ามาจำพรรษา ณ กรุงสุโขทัย เพื่อเผยแพร่พุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทแบบลังกาวงศ์ ในอาณาจักรสุโขทัย

           ในสมัยสุโขทัยนิยมสร้างพระมหาธาตุเจดีย์ เป็นประธานของพุทธสถาน ด้านหน้ามีวิหารโถง สร้างติดกันไว้เรียกว่าวิหารหลวง ลักษณะทางสถาบัตยกรรมของยุคนี้คือ รูปแบบของเจดีย์จะมียอดทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ หรือทรงดอกบัวตูม 

        เมืองศรีสัชนาลัยเป็นเมืองเก่า รุ่นราวคราวเดียวกับกรุงสุโขทัย มีศักดิ์เป็นเมืองลูกหลวงของอาณาจักรสุโขทัย ตัวเมืองตั้งอยู่บนฝั่งขวาของแม่น้ำยมตรงแก่งหลวง เดิมชื่อเมืองชะเลียง ซึ่งอยู่ใต้เมืองศรีสัชนาลัยลงไปเล็กน้อย บริเวณที่ตั้งวัดมหาธาตุในปัจจุบัน ชื่อเมืองชะเลียงนี้ ปรากฎครั้งแรกในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแห่งมหาราชเมื่อปี พ.ศ. ๑๘๓๕ สันนิษฐานว่าเมืองชะเลียงนี้มีอายุอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๖ ต่อมาในพุทธศตวรรษที่ ๑๙ จึงได้มาสร้างเมืองศรีสัชนาลัย ณ บริเวณที่ตั้งปัจจุบัน ในศิลาจารึกมักจะเรียกรวมกันว่าเมืองศรีสัชนาลัยสุโขทัย
เมืองศรีสัชนาลัยเสื่อมลงประมาณปี พ.ศ. ๑๙๔๖ ครั้นล่วงมาถึงปี พ.ศ. ๒๐๑๗ ชื่อเมืองนี้ก็ได้หายไปจากพงศาวดาร และในสมัยกรุงศรีอยุธยาได้เรียกเมืองนี้ว่าสวรรคโลก
เมืองศรีสัชนาลัยเป็นเมือง ๓ ชั้น มีกำแพงล้อมรอบ ชั้นในสุดก่อด้วยศิลาแลง กำแพงชั้นกลางและชั้นนอกเป็นกำแพงดิน บรรดาโบราณสถานต่าง ๆ ตั้งอยู่กระจัดกระจายทั่วไปในกำแพงเมืองและนอกกำแพงเมือง 


   วัดพระศรีมหาธาตุ 
 

             วัดนี้ชาวบ้านเรียกว่าวัดพระปรางค์ เนื่องจากมีพระปรางค์องค์ใหญ่สร้างด้วยศิลาแลง มีฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส บริเวณนี้เป็นที่ตั้งของตัวเมืองเก่าศรีสัชนาลัย


          เป็นวัดใหญ่และสำคัญของเมืองศรีสัชนาลัย มีเจดีย์ทรงลังกาองค์ใหญ่เป็นหลักของวัด ที่ฐานเจดีย์มีช้างปูนปั้นประดับรายล้อมอยู่โดยรอบมีทั้งหมด ๓๙ เชือก สันนิษฐานว่าพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงสร้างวัดนี้

          อยู่ตรงข้ามกับวัดช้างล้อม นับเป็นวัดใหญ่อีกวัดหนึ่งของเมืองศรีสัชนาลัย มีกำแพงศิลาแลงล้อมอยู่โดยรอบ มีพระเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ตั้งอยู่บริเวณกลางวัด รอบเจดีย์องค์นี้มีเจดีย์ใหญ่น้อยประดับซุ้มพระแบบต่าง ๆ อีก ๓๓ องค์ เป็นภาพที่น่าชมอย่างยิ่ง 

          ตั้งอยู่ไม่ไกลจากวัดเจดีย์เจ็ดแถว มีกำแพงศิลาแลงล้อมรอบ มีเจดีย์ทรงลังกาตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมจตุรัส ซึ่งแปลกตาไปจากเจดีย์ทรงลังกาโดยทั่วไป


            เรียกกันว่าวัดสระแก้ว มีพระเจดีย์รูปทรงข้าวบิณฑ์เป็นหลักของวัด ด้านหน้ามีซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูป ทางด้านทิศตะวันตกมีสระน้ำอยู่สระหนึ่ง สันนิษฐานว่าวัดนี้คือ วัดแก้วราชประดิษฐาน ซึ่งมีกล่าวถึงในพงศาวดารเมืองเหนือ

             เป็นวัดที่มีลายปูนปั้นงดงามมาก มีพระเจดีย์ทรงลังกาเป็นหลักของวัด มีซากฐานโบสถ์และวิหาร ๑ ห้อง ซึ่งยังเหลือผนังด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนืออยู่ด้านหนึ่ง บนผนังนี้มีลายปูนปั้นที่งดงามดังกล่าว

              เขาพนมเพลิงเป็นภูเขาลูกเดียวที่ตั้งอยู่ในตัวเมืองศรีสัชนาลัย บนยอดเขาลูกนี้มีวัดอยู่สองวัดสำหรับวัดเขาพนมเพลิง เราจะแลเห็นพระเจดีย์ตั้งตระหง่านอยู่บนยอดเขา ด้านหลังมีซุ้มพระชาวบ้านเรียกว่า ศาลเจ้าแม่ละอองสำลี เป็นที่เคารพนับถือของชาวเมือง

              พระบรมมหาราชวัง
           พระนครศรีอยุธยา เคยเป็นราชธานีของไทยเป็นระยะเวลาถึง 417 ปี มีกษัตริย์      ปกครองรวม 5 ราชวงศ์ นับจำนวนทั้งสิ้น 33 พระองค์ นับตั้งแต่พระเจ้าอู่ทอง หรือสมเด็จพระะบรมราชาธิบดี แห่งราชวงศ์เชียงราย เป็นปฐมกษัตริย์ ได้ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 1893

             จนถึงพรเจ้าเอกทัศน์หรือสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสุริยามรินทร์ กษัตริย์พระองค์สุดท้ายที่ไทยเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่า สิ้นสุดการเป็นราชธานีไทย เมื่อปี พ.ศ. 2310
             ตลอดระยะเวลากว่าสี่ศตวรรษ พระนครศรีอยุธยาได้สร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ ให้แก่ชนชาติไทย และแก่ชาวโลกมากมาย เป็นเพชรน้ำเอกแห่งสุวรรณภูมิอย่างที่ไม่มีเพชรเม็ดใดเทียบเทียมได้ ตลอดห้วงระยะเวลาในประวัติศาสตร์ นับเป็นมรดกไทยและมรดกโลกที่ทรงคุณค่าต่อจากกรุงสุโขทัย องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nation Education Science and Culture Organization (UNESCO) ได้ประกาศให้เป็นมรดกโลก พร้อมกับอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๕
            จากการสำรวจพบซากโบราณสถานที่เป็นรากฐานของประสาทราชวัง กำแพงเมือง และวัดวาอารามคนที่ยังหลงเหลืออยู่ ๒๐๐ แห่ง ในเขตแถวเมืองซึ่งล้อมรอบด้วยแม่น้ำสำคัญ ๓ สาย คือ แม่น้ำลพบุรี แม่น้ำป่าสักและแม่น้ำเจ้าพระยา แสดงให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรือง ยิ่งใหญ่ อลังการ์ ของพระมหานครแห่งนี้

            ชาวต่างประเทศที่ได้มาเห็นอยุธยาในครั้งนั้นได้เขียนเรื่องเกี่ยวกับพระราชวังไว้เมื่อปี พ.ศ.๒๒๓๓ พอประมวลได้ดังนี้ ในอยุธยาสมัยนั้นมีพระราชวังอยู่ ๓ แห่ง คือ แห่งแรกพระราชวังที่พระเจ้าแผ่นดินองค์ก่อนทรงสร้างไว้ ตั้งอยู่ค่อนไปทางกลางพระนคร ประกอบด้วยพื้นที่สี่เหลี่ยมใหญ่, ปันเป็นส่วน, มีตำหนักเป็นอันมาก ทำเป็นหลังคาหลายชั้นตามแบบสถาปัตยกรรมจีน ด้านหน้าปิดทองตลอด ภายในกำแพงพระราชวัง และภายนอกมีโรงช้างยาวเหยียด มีช้างผูกเครื่องลายวิจิตรอยู่ร้อยกว่าเชือก พระราชวังแห่งที่สอง เรียกว่า วังหลวง อยู่ด้านตะวันออกเฉียงเหนือของตัวเมือง พื้นที่เป็นรูปสี่เหลี่ยมเหมือนกัน แต่ไม่ใหญ่เท่าพระราชวังแห่งแรก เดิมเป็นที่ประทับของพระเจ้าแผ่นดินองค์ก่อน แต่ในขณะนั้นให้เป็นที่ประทับของพระมหาอุปราช ส่วนพระราชวังแห่งที่ ๓ เล็กกว่าสองแห่งที่กล่าวแล้ว เป็นที่อยู่ของเจ้ากรมช้างต้น มีเจ้าในราชวงศ์ประทับอยู่ องค์หนึ่งเป็นเจ้ากรมช้างต้น เป็นควาญ และผู้จัดแจงช้างต้นสำหรับพระเจ้าแผ่นดิน

           วัดในพระพุทธศาสนา 
          วัดเป็นทั้งสถานที่เคารพทางศาสนา และเป็นสถานที่ศึกษาของกุลบุตรโดยทั่วไป บาดหลวง เดอ ชัว สี ได้บันทึกในเรื่องนี้ไว้ว่า
เมื่อออกไปกลางแจ้งทุกคนจะเห็นช่อฟ้า หลังคาโบสถ์ และยอดเจดีย์ที่ปิดทองถึง ๓ ชั้น ตั้งอยู่ดาษดาทั่วไปหมด ดูสะพรั่งละลานตา ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นสิ่งใดที่จะสวยงามไปยิ่งกว่านี้


            เมื่อกล่าวถึงวัดพระศรีสรรเพชญ และวัดมหาธาตุ ก็มีคำบรรยายไว้ว่าเมื่อเข้าไปภายในก็คิดว่า เป็นโบสถ์อย่างคริสต์ที่เขานับถืออยู่ ที่ระเบียงโบสถ์มีเสากลมใหญ่จำนวนมากแต่ไมีมีลวดลายวิจิตรอะไร เสาใหญ่ตามทางเดินและที่ชายระเบียงปิดทองตลอดทั้งต้น ส่วนกลางในที่ใกล้กับแท่นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปมีการประดับประดางดงาม บนฐานมีพระพุทธรูปทองคำอยู่ ๓ องค์ ขนาดเท่าคนธรรมดา นั่งขัดสมาธิ (แบบที่ชาวเมืองชอบนั่งกัน) มีเพชรเม็ดใหญ่ ประดับที่พระนลาดและนิ้วพระหัตถ์และที่สะดือ ส่วนกลางของพระอารามค่อนข้างคับแคบ และค่อนข้างมืด มีประทีปตามไฟไว้ ๕๐ ดวง เมื่อไปถึงสุดตอนกลาง จะเห็นพระพุทธรูปองค์ใหญ่หุ้มทองคำหนาถึง ๓ นิ้วฟุตทั้งองค์ องค์พระสูงประมาณ ๔๒ ฟุต กว้างประมาณ ๑๓ - ๑๔ ฟุต กล่าวกันว่าทองคำที่หุ้มองค์พระนั้นมีมูลค่าถึง ๑๒ ล้าน ๔ แสนปอนด์
             นอกจากนั้นยังเห็นพระพุทธรูปทองคำในโบสถ์อื่น ๆ ในพระอารามหลวงอีก ๑๗ - ๑๘ องค์ ขนาดเท่าคนจริงธรรมดา แทบทุกองค์มีอัญมนีประดับที่พระนลาด และที่นิ้วพระหัตถ์


       วัดมหาธาตุ

               เป็นวัดสำคัญอีกวัดหนึ่ง ทูตลังกาได้เขียนบรรยายไว้ว่า วัดนี้สร้างในที่ราบรื่น มีกำแพงล้อมทั้ง ๔ ด้าน นอกกำแพงมีคลองเป็นคู ตั้งแต่ท่าหน้าวัด ด้านตะวันออกมีฉนวนหลังคาสองชั้น ยื่นยาวเข้าไปจนถึงประตูวัดเมื่อเข้าประตูวัด แลคูทั้งสี่ด้าน มีพระเจดีย์ปิดทอง ๘ องค์ ระหว่างพระเจดีย์ตั้งพระพุทธรูป และมีวิหาร หลังคา ๒ ชั้น ๔ ทิศ ในวิหารมีพระพุทธรูปใหญ่นั่งสูงจรดเพดาน
ตรงศูนย์กลางเป็นองค์พระมหาธาตุ ๕ ยอด มีเจดีย์ และวิหารทั้ง ๔ ลอยอยู่ตรงชั้นบัลลังก์ทั้ง ๔ มุม เป็นรูปภาพต่าง ๆ คือ ครุฑ จตุโลกบาล โทวาริกถือดาบ รากษสถือกระบองสั้น และรูปพิราวะยักษ์ถือกระบองยาว เป็นต้น ยอดพระมหาธาตุนั้น เป็นทองทั้งแท่ง บันไดที่ขึ้นไปยังซุ้มที่องค์พระมหาธาตุ หลังพนักทั้งสองข้างเป็นนาคราชตัวโตเท่าลำตาล เลื้อยลงมาแผ่พังพานอยู่ที่เชิงบันได รอบฐานพระมหาธาตุ มีรูปสัตว์ตั้งเรียงรายโดยรอบ คือ รูปราชสีห์ หมี หงษ์ นกยูง กินนร โค สุนัขป่า กระบือ มังกร และมีรูปเทวาริก ยืนถือดาบบ้าง ถือวิชนี จามร และฉัตรบ้าง
            นอกจากนี้ยัง มีเครื่องพุทธบูชาต่าง ๆ อีกมาก ที่หน้าบันซุ้มพระมหาธาตุปั้นเป็นลายรูปพระพรหม พระสักระ พระสยาม ล้วนปิดทองทั้งสิ้น ในพระวิหารด้านตะวันออก มีพระพุทธรูปนั่งหันพระพักตร์ไปทางพระมหาธาตุ และมีรอยพระพุทธบาทจำลองสองรอย
พระวิหารด้านตะวันตกมีพระพุทธรูป ๓ องค์ มีพระพุทธรูปปางเสด็จทรงสีหไสยาสน์ อยู่ในพระคันธกุฏิ มีรูปพระอานนท์นั่งถือเชิงเทียนทอง ฝาผนังเขียนเรื่องมหาเวสสันดรชาดก และเรื่องปฐมสมโพธี รูปภาพทั้งหมดล้วนปิดทองทั้งสิ้นี้


          


            ปราสาทหินเขาพนมรุ้ง ตั้งอยู่บนยอดเขาพนมรุ้ง ตำบลตาแป๊ด อำเภอนางรอง ติดต่อกับอำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ มีขนาดรูปแบบและที่ตั้งซึ่งอยู่ในบริเวณและสิ่งแวดล้อมพอเหมาะ ยากที่จะหาที่ใดเทียมได้ นับเป็นโบราณสถานที่สำคัญและสวยงามที่สุดแห่งหนึ่ง ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย

            สิ่งก่อสร้างประกอบไปด้วยสถาปัตยกรรมที่สร้างเสริมกันมาหลายศตวรรษ เริ่มตั้งแต่ พุทธศตวรรษที่ ๑๕,๑๗ และ ๑๘ เรียงรายจากลาดเชิงเขาไปจนถึงยอดเขา มีแบบแผนการก่อสร้างที่เป็นระเบียบได้สัดส่วนและลงตัวอย่างยอดเยี่ยม นับตั้งแต่บันไดทางขึ้นไปจนถึงปราสาทหลัก

           ปราสาทหินเขาพนมรุ้งสร้างขึ้นตามนัยของศาสนสถาน เป็นตัวอย่างสุดท้ายของศาสนสถานเขมร บนยอดเขา เหนือดินแดนเขมรสูง ในพื้นที่ของไทย ลักษณะศิลปะสถาบัตยกรรมของศาสนสถานแห่งนี้ แสดงให้เห็นว่า ได้สร้างขึ้นเพื่อเป็นเทวาลัยของพระศิวะ สร้างขึ้นด้วยฝีมือช่างหลวง มีความสวยงามทัดเทียบกับบรรดาปราสาทที่พบในเมืองนครวัด ตัวปราสาทหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ตามคติทางศาสนาฮินดูหรือศาสนาพราหมณ์ ถนนปูลาดด้วยแผ่นศิลาลงจากประสาท ผ่าน สถานที่สำหรับประกอบพิธีกรรมที่เรียกว่า โรงช้างเผือก ลงไปสู่ที่ราบลุ่มเชิงเขา มีสระบาราย ซึ่งเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่เก็บน้ำจากลำธารที่ไหลลงจากเขา มีประสาทขนาดเล็กอยู่ใกล้ ๆ และมีคันดินที่เป็นทั้งถนนและคันชักน้ำ ขนาบไปกับลำธารที่มาจากยอดเขาพนมรุ้งไปยังชุมชนเมืองต่ำ

            ปราสาทหินเขาพนมรุ้ง ประกอบด้วยสถาปัตยกรรมหินทรายและศิลาแลง ห้าหลัง สี่ชาลา หนึ่งทางเดิน ระเบียงคด และกำแพงล้อมรอบ รวมทั้งซากของฐานอาคารที่ก่อด้วยอิฐอีกสองหลัง


            กลุ่มของอาคารหลักที่ตั้งอยู่บนยอดเขาประกอบด้วย ปราสาทประธานเป็นจุดศูนย์กลาง ล้อมรอบด้วยระเบียงคด ซึ่งมี โคปุระ หรือพลับพลาทางเข้าประกอบทั้งสี่ด้าน ภายในระเบียงคด มีอาคารขนาดเล็กหลายขนาด ประกอบด้วย ปรางค์น้อย บริเวณมุมทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ มีบรรณาลัยอยู่สองหลัง มีซากอาคารอีกสองหลัง อยู่ทางทิศเหนือของปราสาทประธาน
ระเบียงคดที่ล้อมรอบอาคารเหล่านี้ ยังมีกำแพงล้อมรอบอีกชั้นหนึ่ง ปัจจุบันคงเหลือแต่เพียง ฐานของกำแพงเท่านั้น

          

          
 

 การอนุรักษ์ บูรณะและพัฒนาแหล่งโบราณวัตถุสถานที่สำคัญของชาติ ได้มีการดำเนินการเป็นลำดับ ในความรับผิดชอบของกรมศิลปากร อย่างไรก็ตามความต่อเนื่องจริงจังอย่างเห็นได้ชัดนั้นเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๙๙ เริ่มตั้งแต่การขุดแต่ง บูรณะ ขึ้นทะเบียนโบราณสถาน จนถึงประกาศเป็นเขตอุทยานประวัติศาสตร์ ซึ่งเริ่มที่จังหวัดอยุธยาก่อน แล้วจึงแพร่ขยายออกไปทั่วประเทศ จนถึงปี พ.ศ. ๒๕๒๔ ได้มีโครงการอุทยานประวัติศาสตร์ ตามแหล่งโบราณสถานที่สำคัญๆ ทั่วประเทศ รวม ๙ แห่ง ด้วยกัน คือ

           ๑. อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย

           ๒. อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย

           ๓. อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร

           ๔. อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ

            ๕. อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย

           ๖. อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง

           ๗. อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์

           ๘. อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา

           ๙. อุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรี
อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
           พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ปฐมกษัตริยราชวงศ์พระร่วงได้สถาปนาอาณาจักรสุโขทัย อันมีกรุงสุโขทัยเป็นราชธานีขึ้น เมื่อปี พ.ศ. ๑๘๐๐ และได้สืบสันตติวงศ์ต่อมาอีก ๕ พระองค์ คือ พ่อขุนบาลเมือง พ่อขุนรามคำแหงมหาราช พญาเลอไทย พญาลิไทย พญาไสลือไทย จนถึงปี พ.ศ. ๑๙๒๑ จากนั้นกรุงสุโขทัยก็ตกเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรศรีอยุธยา กษัตริย์ราชวงศ์พระร่วงอีก ๒ พระองค์ จึงอยู่ในฐานะเป็นเจ้าเมืองขึ้น
           ภายในเมืองสุโขทัยประกอบด้วยส่วนที่เป็นพระราชวัง และศาสนสถานที่สำคัญ ๆ มีคูเมืองและกำแพงเมืองล้อมรอบเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส นอกกำแพงเมืองออกไปโดยรอบทั้งสี่ด้าน มีโบราณสถานต่าง ๆ ตั้งอยู่อีกเป็นจำนวนมาก รวมพื้นที่ที่ครอบคลุมโบราณสถานของเมืองสุโขทัยทั้งหมด มีประมาณ ๔๐,๐๐๐ ไร่

           บรรดาศิลปกรรมและสถาบัตยกรรมอันงามสง่าของเมืองสุโขทัย แสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองทั้งด้านวัตถุและด้านจิตใจ อย่างไม่มีอาณาจักรใดในสุวรรณภูมิในยุคนั้นมาเทียบเทียมได้ นับเป็นมรดกอันล้ำค่าของไทยที่มีค่าควรแก่ความภาคภูมิใจของชาวไทยและแก่มนุษยชาติ องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ตระหนักถึงคุณค่าดังกล่าว จึงได้ประกาศให้อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยเป็น "มรดกโลก" เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๕

           พ่อขุนรามคำแหงมหาราชได้ทรงอาราธนา พระภิกษุสงฆ์จากนครศรีธรรมราชเข้ามาจำพรรษา ณ กรุงสุโขทัย เพื่อเผยแพร่พุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทแบบลังกาวงศ์ ในอาณาจักรสุโขทัย

           ในสมัยสุโขทัยนิยมสร้างพระมหาธาตุเจดีย์ เป็นประธานของพุทธสถาน ด้านหน้ามีวิหารโถง สร้างติดกันไว้เรียกว่าวิหารหลวง ลักษณะทางสถาบัตยกรรมของยุคนี้คือ รูปแบบของเจดีย์จะมียอดทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ หรือทรงดอกบัวตูม

 
อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย
                        เมืองศรีสัชนาลัยเป็นเมืองเก่า รุ่นราวคราวเดียวกับกรุงสุโขทัย มีศักดิ์เป็นเมืองลูกหลวงของอาณาจักรสุโขทัย ตัวเมืองตั้งอยู่บนฝั่งขวาของแม่น้ำยมตรงแก่งหลวง เดิมชื่อเมืองชะเลียง ซึ่งอยู่ใต้เมืองศรีสัชนาลัยลงไปเล็กน้อย บริเวณที่ตั้งวัดมหาธาตุในปัจจุบัน ชื่อเมืองชะเลียงนี้ ปรากฎครั้งแรกในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแห่งมหาราชเมื่อปี พ.ศ. ๑๘๓๕ สันนิษฐานว่าเมืองชะเลียงนี้มีอายุอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๖ ต่อมาในพุทธศตวรรษที่ ๑๙ จึงได้มาสร้างเมืองศรีสัชนาลัย ณ บริเวณที่ตั้งปัจจุบัน ในศิลาจารึกมักจะเรียกรวมกันว่าเมืองศรีสัชนาลัยสุโขทัย
เมืองศรีสัชนาลัยเสื่อมลงประมาณปี พ.ศ. ๑๙๔๖ ครั้นล่วงมาถึงปี พ.ศ. ๒๐๑๗ ชื่อเมืองนี้ก็ได้หายไปจากพงศาวดาร และในสมัยกรุงศรีอยุธยาได้เรียกเมืองนี้ว่าสวรรคโลก
เมืองศรีสัชนาลัยเป็นเมือง ๓ ชั้น มีกำแพงล้อมรอบ ชั้นในสุดก่อด้วยศิลาแลง กำแพงชั้นกลางและชั้นนอกเป็นกำแพงดิน บรรดาโบราณสถานต่าง ๆ ตั้งอยู่กระจัดกระจายทั่วไปในกำแพงเมืองและนอกกำแพงเมือง
วัดพระศรีมหาธาตุ
            วัดนี้ชาวบ้านเรียกว่าวัดพระปรางค์ เนื่องจากมีพระปรางค์องค์ใหญ่สร้างด้วยศิลาแลง มีฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส บริเวณนี้เป็นที่ตั้งของตัวเมืองเก่าศรีสัชนาลัย
วัดช้างล้อม
            เป็นวัดใหญ่และสำคัญของเมืองศรีสัชนาลัย มีเจดีย์ทรงลังกาองค์ใหญ่เป็นหลักของวัด ที่ฐานเจดีย์มีช้างปูนปั้นประดับรายล้อมอยู่โดยรอบมีทั้งหมด ๓๙ เชือก สันนิษฐานว่าพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงสร้างวัดนี้
วัดเจดีย์เจ็ดแถว
             อยู่ตรงข้ามกับวัดช้างล้อม นับเป็นวัดใหญ่อีกวัดหนึ่งของเมืองศรีสัชนาลัย มีกำแพงศิลาแลงล้อมอยู่โดยรอบ มีพระเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ตั้งอยู่บริเวณกลางวัด รอบเจดีย์องค์นี้มีเจดีย์ใหญ่น้อยประดับซุ้มพระแบบต่าง ๆ อีก ๓๓ องค์ เป็นภาพที่น่าชมอย่างยิ่ง

วัดสวนแก้วอุทยานใหญ่

          ตั้งอยู่ไม่ไกลจากวัดเจดีย์เจ็ดแถว มีกำแพงศิลาแลงล้อมรอบ มีเจดีย์ทรงลังกาตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมจตุรัส ซึ่งแปลกตาไปจากเจดีย์ทรงลังกาโดยทั่วไป
วัดสวนแก้วอุทยานน้อย
             เรียกกันว่าวัดสระแก้ว มีพระเจดีย์รูปทรงข้าวบิณฑ์เป็นหลักของวัด ด้านหน้ามีซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูป ทางด้านทิศตะวันตกมีสระน้ำอยู่สระหนึ่ง สันนิษฐานว่าวัดนี้คือ วัดแก้วราชประดิษฐาน ซึ่งมีกล่าวถึงในพงศาวดารเมืองเหนือ
วัดนางพญา
               เป็นวัดที่มีลายปูนปั้นงดงามมาก มีพระเจดีย์ทรงลังกาเป็นหลักของวัด มีซากฐานโบสถ์และวิหาร ๑ ห้อง ซึ่งยังเหลือผนังด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนืออยู่ด้านหนึ่ง บนผนังนี้มีลายปูนปั้นที่งดงามดังกล่าว
วัดเขาพนมเพลิง
             เขาพนมเพลิงเป็นภูเขาลูกเดียวที่ตั้งอยู่ในตัวเมืองศรีสัชนาลัย บนยอดเขาลูกนี้มีวัดอยู่สองวัดสำหรับวัดเขาพนมเพลิง เราจะแลเห็นพระเจดีย์ตั้งตระหง่านอยู่บนยอดเขา ด้านหลังมีซุ้มพระชาวบ้านเรียกว่า ศาลเจ้าแม่ละอองสำลี เป็นที่เคารพนับถือของชาวเมือง
 



ปราสาทประธาน             มีทางเข้าสี่ทิศคือ ทางทิศตะวันออก ซึ่งเป็นทางเข้าสำคัญ มีมุขกระสันเชื่อมต่อกับมณฑป ซึ่งตั้งอยู่ด้านหน้า ส่วนที่เหลืออีกสามทิศคือ ทิศตะวันตก ทิศเหนือ และทิศใต้ มีลักษณะเหมือนกันคือ ทำเป็นทางเข้าโดยตรง ส่วนประกอบที่สำคัญของปราสาทนี้ได้แก่ ฐาน เรือนธาตุ เครื่องบน และเครื่องประดับ
           
ฐาน
           ประกอบด้วยฐานบัวและฐานเขียง ฐานนี้มีความสำคัญมาก เนื่องจากเป็นเครื่องแสดงถึงชั้นของลวดบัว และชั้นของลูกแก้วโดยรอบ ฐานของมุขปราสาทและฐานของตัวปราสาท ประกอบด้วยชั้นสองชั้น มีขนาดแตกต่างกัน โดยมีชั้นประดับลวดลายตกแต่งโดยตลอด ทำเป็นลายนูนเช่น ลายลูกแก้ว ลายลวดบัว ลายบัวหงาย ลายใบไม้สลัก ลายหน้ากระดาน ลายประจำยาม ชั้นบัวคว่ำ สลักเป็นลายใบไม้ม้วนแนวกลับบัว ท้องไม้ ลายใบไม้ม้วน ลายลวดบัวกุมุท ลายกรวยเชิงรูปใบไม้ ตกแต่งด้วยลายรูปหงส์ เหนือลายใบไม้มีแนวลายลูกประคำ
ปราสาทประธาน             มีทางเข้าสี่ทิศคือ ทางทิศตะวันออก ซึ่งเป็นทางเข้าสำคัญ มีมุขกระสันเชื่อมต่อกับมณฑป ซึ่งตั้งอยู่ด้านหน้า ส่วนที่เหลืออีกสามทิศคือ ทิศตะวันตก ทิศเหนือ และทิศใต้ มีลักษณะเหมือนกันคือ ทำเป็นทางเข้าโดยตรง ส่วนประกอบที่สำคัญของปราสาทนี้ได้แก่ ฐาน เรือนธาตุ เครื่องบน และเครื่องประดับ
           
ฐาน
           ประกอบด้วยฐานบัวและฐานเขียง ฐานนี้มีความสำคัญมาก เนื่องจากเป็นเครื่องแสดงถึงชั้นของลวดบัว และชั้นของลูกแก้วโดยรอบ ฐานของมุขปราสาทและฐานของตัวปราสาท ประกอบด้วยชั้นสองชั้น มีขนาดแตกต่างกัน โดยมีชั้นประดับลวดลายตกแต่งโดยตลอด ทำเป็นลายนูนเช่น ลายลูกแก้ว ลายลวดบัว ลายบัวหงาย ลายใบไม้สลัก ลายหน้ากระดาน ลายประจำยาม ชั้นบัวคว่ำ สลักเป็นลายใบไม้ม้วนแนวกลับบัว ท้องไม้ ลายใบไม้ม้วน ลายลวดบัวกุมุท ลายกรวยเชิงรูปใบไม้ ตกแต่งด้วยลายรูปหงส์ เหนือลายใบไม้มีแนวลายลูกประคำ
เรือนธาตุ
           ปราสาทประธาน มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสออกมุม มีมุขปราสาททั้งสี่ด้าน ทำให้แผนผังของปราสาทเป็นรูปกากบาท มุมใหญ่ทั้งสี่ของเรือนธาตุแสดงถึง รูปทรงสี่เหลี่ยมหลัก อันเป็นของดั่งเดิมของสถาปัตยกรรมเขมร ต่อมาได้มีการออกมุมเพิ่มในแต่ละด้าน มุมใหญ่อันเป็นมุมหลักของเรือนธาตุ ตั้งอยู่บนชั้นที่สองของฐานของตัวปราสาท ส่วนมุมย่อยตั้งอยู่บนฐานชั้นแรกของมุขปราสาท แผนผังด้านในของปราสาทเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส เช่นเดียวกับ ด้านนอก ภายในปราสาทมีผนังก่อด้วยหินทราย ตั้งตรงในแนวดิ่ง จนถึงชั้นเชิงบาตร จึงเริ่มก่อเป็นหลังคาโค้ง แบบสันเหลื่อมเข้ามาบรรจบกัน
            มุขปราสาทด้านทิศตะวันออกที่เรียกว่ามณฑป สร้างแยกออกจากตัวปราสาท ในแผนผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า แต่จะต่อเชื่อมกับปราสาท โดยมีมุขกระสันเป็นตัวเชื่อม ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของปราสาทเขมร
            สำหรับมุขปราสาทด้านทิศเหนือ ทิศใต้ และทิศตะวันตก คงมีลักษณะเช่นเดียวกับด้านตะวันออก แต่สร้างติดกับตัวปราสาท
ปราสาทประธาน             มีทางเข้าสี่ทิศคือ ทางทิศตะวันออก ซึ่งเป็นทางเข้าสำคัญ มีมุขกระสันเชื่อมต่อกับมณฑป ซึ่งตั้งอยู่ด้านหน้า ส่วนที่เหลืออีกสามทิศคือ ทิศตะวันตก ทิศเหนือ และทิศใต้ มีลักษณะเหมือนกันคือ ทำเป็นทางเข้าโดยตรง ส่วนประกอบที่สำคัญของปราสาทนี้ได้แก่ ฐาน เรือนธาตุ เครื่องบน และเครื่องประดับ
           
ฐาน
           ประกอบด้วยฐานบัวและฐานเขียง ฐานนี้มีความสำคัญมาก เนื่องจากเป็นเครื่องแสดงถึงชั้นของลวดบัว และชั้นของลูกแก้วโดยรอบ ฐานของมุขปราสาทและฐานของตัวปราสาท ประกอบด้วยชั้นสองชั้น มีขนาดแตกต่างกัน โดยมีชั้นประดับลวดลายตกแต่งโดยตลอด ทำเป็นลายนูนเช่น ลายลูกแก้ว ลายลวดบัว ลายบัวหงาย ลายใบไม้สลัก ลายหน้ากระดาน ลายประจำยาม ชั้นบัวคว่ำ สลักเป็นลายใบไม้ม้วนแนวกลับบัว ท้องไม้ ลายใบไม้ม้วน ลายลวดบัวกุมุท ลายกรวยเชิงรูปใบไม้ ตกแต่งด้วยลายรูปหงส์ เหนือลายใบไม้มีแนวลายลูกประคำ
เรือนธาตุ
           ปราสาทประธาน มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสออกมุม มีมุขปราสาททั้งสี่ด้าน ทำให้แผนผังของปราสาทเป็นรูปกากบาท มุมใหญ่ทั้งสี่ของเรือนธาตุแสดงถึง รูปทรงสี่เหลี่ยมหลัก อันเป็นของดั่งเดิมของสถาปัตยกรรมเขมร ต่อมาได้มีการออกมุมเพิ่มในแต่ละด้าน มุมใหญ่อันเป็นมุมหลักของเรือนธาตุ ตั้งอยู่บนชั้นที่สองของฐานของตัวปราสาท ส่วนมุมย่อยตั้งอยู่บนฐานชั้นแรกของมุขปราสาท แผนผังด้านในของปราสาทเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส เช่นเดียวกับ ด้านนอก ภายในปราสาทมีผนังก่อด้วยหินทราย ตั้งตรงในแนวดิ่ง จนถึงชั้นเชิงบาตร จึงเริ่มก่อเป็นหลังคาโค้ง แบบสันเหลื่อมเข้ามาบรรจบกัน
            มุขปราสาทด้านทิศตะวันออกที่เรียกว่ามณฑป สร้างแยกออกจากตัวปราสาท ในแผนผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า แต่จะต่อเชื่อมกับปราสาท โดยมีมุขกระสันเป็นตัวเชื่อม ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของปราสาทเขมร
            สำหรับมุขปราสาทด้านทิศเหนือ ทิศใต้ และทิศตะวันตก คงมีลักษณะเช่นเดียวกับด้านตะวันออก แต่สร้างติดกับตัวปราสาท
เครื่องบน
           ประกอบด้วยชั้นเชิงบาตรห้าชั้น ประดับด้วยกลีบขนุนปราสาท รูปสามเหลี่ยมแทนการประดับด้วยรูปจำลองปราสาทที่มุมบน ชั้นเชิงบาตรแต่ละชั้น ทำให้รูปทรงของเครื่องบนลอยเข้าคล้ายรูปพุ่ม ยอดบนสุดของเครื่องบนมี กลศ ปักด้วย ตรีศูล หรือปัญจศูลโลหะ ชั้นเชิงบาตรชั้นแรก เรียกว่าชั้นครุฑ รองรับกลีบขนุนปราสาท แบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนแรกประดับด้วยลายหน้ากระดาน สลักลายพรรณพฤกษา ขนาบด้วยลายลูกประคำทั้งด้านบนและด้านล่าง มีรูปครุฑขนาดเล็กประคองอัญชลีที่แต่ละมุม ส่วนที่สองสลักเป็นแนวกลีบบัวด้านล่าง ประดับครุฑคล้ายส่วนแรก เหนือชั้นครุฑและชั้นเชิงบาตรแต่ละชั้น ประดับด้วยซุ้มบัญชร ตกแต่งด้วยภาพสลักรูปบุคคลและลายพรรณพฤกษา ด้านหน้าของซุ้มบัญชรมีกลีบขนุน ปราสาทจำหลักรูปปาทิก ปาลก ที่กึ่งกลางของแต่ละด้าน โดยกลีบขนุนที่มุมเรียงจากถึงกลางสลักเป็นรูปเทพธิดา ฤษี และนาคห้าเศียร ประดับเรียงรายบนชั้นเชิงบาตรทั้งห้าชั้น ซุ้มบัญชรเหนือชั้นเชิงบาตรแต่ละชั้นมีรูปทรงปีกกา ปลายกรอบของซุ้มสลักเป็นรูปนาคห้าเศียรคาบพวงอุบะ

ปรางค์น้อย


           อยู่ทางมุมทิศตะวันตกเฉียงใต้ของปราสาทประธาน ภายในระเบียงคด มีแผนผังรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส สร้างด้วยหินทราย ภายในกรุด้วยศิลาแลง ลวดลายบัวเชิงประกอบด้วยลายบัวคว่ำ ลูกแก้วอกไก่ซ้อนกันสามชั้น ชั้นล่างเป็นแนวกลีบบัว ชั้นกลางเป็นบัวกุมุท ชั้นบนไม่มีลวดลาย
           เรือนธาตุมีบัวรัดเกล้าเช่นเดียวกับบัวเชิงที่ฐาน แต่ละด้านมีเครื่องประดับที่สำคัญได้แก่ เสาติดกับผนัง เสาประดับกรอบประตู ทับหลังหน้าบัน และประตูหลอก ซึ่งส่วนใหญ่ยังสลักลวดลายไม่เสร็จ


ปราสาทอิฐ

           มีอยู่สองหลัง อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของ ปราสาทประธาน ภายในระเบียงคด มีผังรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส ปราสาทดังกล่าวคงเหลือเฉพาะฐาน

บรรณาลัย

           มีอยู่สองหลัง อยู่ทางทิศตะวันออกของปราสาทประธาน ภายในระเบียงคด มีผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า สร้างด้วยศิลาแลง ส่วนกรอบหน้าต่างใช้หินทราย ไม่ปรากฏร่องรอย เครื่องประดับตกแต่งมากนัก และอยู่ในสภาพทรุดโทรม ชาลารูปกากบาท
           เป็นตัวเชื่อมโคปุระกับมณฑปของปราสาทประธาน ประกอบด้วยรูปนาคเป็นขอบโดยรอบตั้งอยู่บนฐานโปร่ง โดยมีเสาขนาดสั้นรองรับเป็นช่วง ๆ

โคปุระและระเบียงคด

           สิ่งก่อสร้างที่อยู่ภายในระเบียงคดคือ ปราสาทประธาน ปรางค์น้อย ปราสาทอิฐ และบรรณาลัย ตามลักษณะ สถาปัตยกรรมเขมร บริเวณกึ่งกลางของระเบียงคดแต่ละด้าน จะมีโคปุระ หรือประตูทางเข้า ซึ่งส่วนใหญ่ยังสร้างไม่เสร็จ ยกเว้นด้านทิศตะวันออก ตัวโคปุระกระหนาบด้วยห้องสองห้อง และมีโคปุระ รองถัดจากห้องดังกล่าวประกอบอยู่ทั้งสองข้าง โคปุระดังกล่าวประดับด้วยหน้าบันจำหลักภาพเล่าเรื่อง มีทับหลัง เสาติดผนัง และเสาประดับกรอบประตูเป็นองค์ประกอบ
           ผนังระเบียงมีช่องหน้าต่าง กรอบหน้าต่างทำด้วยหินทราย เสาลูกกรงของหน้าต่างกลึงจากหินทราย มุมทั้งสองข้างปลายสุดของระเบียงคดตกแต่งด้วยซุ้มประตู้ ซึ่งส่วนใหญ่ยังสร้างไม่เสร็จ ชาลาบันใดทางขึ้นและทางเดิน
           จากยอดเนินเขามาสู่ทางเดินเบื้องล่าง มีบันใดทางขึ้นทำด้วยหินทราย มีชานพักห้าแห่งเรียกว่า กระฟัก ซึ่งตกแต่งด้วย ชั้นลวดบัว บริเวณเชิงบันใดทางขึ้นมีชาลารูปกากบาท เรียกว่า สะพานนาค คล้ายกับชาลาหน้าโคปุระแต่มีขนาดใหญ่กว่า ชาลาดังกล่าวนี้สร้างด้วยหินทราย ชาลาเหล่านี้ล้อมรอบด้วยนาคราวลูกกรง เป็นนาคห้าเศียร พื้นชาลาสลักรูปดอกบัวขนาดใหญ่ บริเวณขั้นบันใดทางขึ้นชาลา มีอัฒจันทร์รูปปีกกาแต่ยังสร้างไม่เสร็จ ทางเดินเชื่อมระหว่างชวาลาปูด้วยแผ่นหินทราย สองข้างมีเสานางเรียง หรือนางจรัล หรือเสาเทียนตั้งเป็นระยะ