网页浏览总次数

2011年9月13日星期二

เหมา เจ๋อตุง


 เหมา เจ๋อตุง (จีนตัวเต็ม毛澤東จีนตัวย่อ毛泽东พินอินMáo Zédōngเวด-ไจลส์Mao Tse-tung26 ธันวาคมพ.ศ. 2436 — 9 กันยายน พ.ศ. 2519) บุตรชายในตระกูลชาวนาเจ้าของที่ดิน จบการศึกษาจากวิทยาลัยฝึกหัดครู ก่อนจะเข้าร่วมพรรคคอมมิวนิสต์จีน หลังจากถูกปราบปรามโดยนายพลเจียง ไคเชก เหมาฯ ได้ขึ้นมาเป็นประธานของคณะโปลิตบูโรของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีน ภายใต้การปกครองของเหมา เจ๋อตง พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีนได้ชนะสงครามกลางเมืองจีน และปกครองจีนแผ่นดินใหญ่ได้ เหมา เจ๋อตงได้ประกาศตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2492 (ค.ศ. 1949) ที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน

เหมาได้นำประเทศเข้าเป็นพันธมิตรกับสหภาพโซเวียต ก่อนจะแยกตัวมาภายหลัง เขายังเป็นผู้นำให้เกิดการปฏิวัติวัฒนธรรม

เหมาได้รับการยกย่องให้รวมประเทศจีนเป็นปึกแผ่นอีกครั้ง หลังจากตกอยู่ใต้อิทธิพลของต่างชาติตั้งแต่สงครามฝิ่น ในประเทศเขาถูกเรียกว่า ประธานเหมา(Chairman Mao) แต่เขาปกครองประเทศจีน และก็มีปายปรากฏคำวิพากษ์วิจารณ์ต่อพรรคคอมมิวนิสต์ เป็นครั้งสุดท้ายที่เหมาจะขอความคิดเห็นกับประชาชนจีน ไม่ช้าหลังจากนั้นเขาก็กำจัดคนที่ออกมาพูดอย่างอำมหิต คนหลายแสนคนถูกระบุว่าเป็นพลเรือนฝ่ายขวาและถูกไล่ออกจากงานคน หลายหมื่นคนถูกส่งเข้าคุก แต่เหมาไม่สนใจอีกต่อไป เขาแวดล้อมด้วยลูกขุนพลอยพยักและมีอิสระที่จะดำเนินตามความคิด ซึ่งมีน้อยคนนักที่จะคาดเดาปลายทางได้


ปี พ.ศ. 2501 เหมาออกจากปักกิ่งไปเยือนชนบท เขาหมดความอดทนกับความเปลี่ยนแปลงที่ล่าช้า และกังวลว่าการปฏิวัติจะสูญเสียความต่อเนื่อง เขารู้สึกว่าถึงเวลาเปลี่ยนแปลงประเทศ ฤดูหนาว ปี พ.ศ. 2502 ผลจากความทะเยอทะยานของเหมา ทำให้จีนตกอยู่ในภาวะลำบาก คนทั้งหมู่บ้านเสียชีวิตด้วยความอดอยาก เมื่อประชาชนไม่มีอะไรจะกิน เขาก็กินร่างของคนที่เพิ่งตาย ไม่มีใครทราบว่าลัทธิการกินเนื้อมนุษย์ได้แพร่ขยายไปอย่างไร แต่ผู้คนราว 40 ล้านคนต้องเสียชีวิตด้วยความหิวโหย ระหว่างปี พ.ศ. 2502 - 2504 ความสับสนกระจายไปทั่วจีนราวกับพายุขบวนการร้ายกาจถูกตั้งขึ้นเพื่อกำจัดผู้ที่เป็นกลางทางการเมือง ขบวนการร้ายกาจครอบงำไปทั้งประเทศ


ปลายยุค พ.ศ. 2503 มีประชากรมากกว่า 1 ล้านคนถูกฆ่าหรือถูกจำคุกโดยขบวนการเรดการ์ด ขบวนการร้ายกาจถูกปลดหลังจากหลายปีแห่งความวุ่นวายในจีน ตอนนี้เหมาหาวิธีการที่จะเปิดประเทศจีนสู่ประชาคมโลก เป็นการริเริ่มที่สำคัญครั้งสุดท้ายของเขาด้วยลักษณะนิสัยที่ไม่เกรงกลัวสิ่งใด เขาหันเข้าหาศัตรูคือสหรัฐอเมริกา โดยปี พ.ศ. 2515 เขาได้เชิญประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสันแห่งอเมริกามาที่ปักกิ่ง เพื่อเข้าร่วมการประชุม เป็นการสนทนาครั้งแรกของทั้งสองประเทศในช่วงเวลาเกือบ 3 ทศวรรษ แต่สุขภาพเหมาก็แย่ลง 18 กันยายน พ.ศ. 2519 เขาเสียชีวิตด้วยอายุ 83 ปี แต่เบื้องหลังความนิ่งเงียบของเขาทำให้เรารู้ว่าเขาอยู่เบื้องหลังการประหารประชากรร่วมชาติกว่า 10 ล้านคนและเขาคนนี้ก็ยัง ใส่ร้าย พระนางซูสีไทเฮาและราชวงศ์ชิงอย่างมาก จนเลวร้ายเกินไป

2011年9月11日星期日

เมืองปักกิ่ง


ข้อมูลประวัติศาสตร์
ผู้ปกครองของประเทศจีนในอดีต แสดงอำนาจของความเป็นเจ้าผู้นำ โดยการสร้างพระราชวังอันสำคัญๆ บ้านเรือน
อันโอ่อ่า วัดมากมาย ณ วันนี้ เมืองปักกิ่งเป็นบ้านที่มีประชากรอาศัยอยู่มากถึง 13 ล้านคน รวมทั้งเป็นศูนย์ กลางการ
เมือง และวัฒนธรรมอีกด้วย ซึ่งเราได้เตรียมข้อมูลการท่องเที่ยวบางแห่งไว้ให้คุณ:
  • ปักกิ่งเป็นเมืองที่เข้าถึงง่ายและน่าค้นหาอย่างมาก ในขณะเดียวกันที่เมืองแห่งนี้ยังหลงเหลือความยิ่งใหญ่ และความรุ่งโรจน์ เช่น “พระราชวังต้องห้าม" (ซึ่งทางUNESCOได้จัดให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมแห่งหนึ่ง ของโลก)
  • กำแพงเมืองจีน ซึ่งทอดยาวครอบคลุมพื้นที่ถึง 60 กิโลเมตร จากตัวเมือง
  • เพื่อที่จะต้อนรับการจัดงานโอลิมปิค 2008 เมืองปักกิ่งได้มีการเปลี่ยนแปลงพิเศษเพื่องานที่พิเศษนี้: สวนต่างๆ และพื้นที่สีเขียว ได้ถูกตกแต่ง หมู่บ้าน และสถานที่เล่นกีฬาต่างๆกำลังทำการสร้างขึ้น และสถานที่ช้อปปิ้งต่างๆ ได้ถูกปรับปรุงให้ทันสมัยมากยิ่งขึ้น


กีฬาและกิจกรรมยามว่าง
กีฬาฟุตบอล ปิงปอง และบาสเกตบอล เป้นกีฬาที่ได้รับความนิยมมากในปักกิ่งซึ่งนักเรียนสามารถเข้าร่วมกิจกรรม
กับชมรมกีฬาต่าง ๆ เหล่านี้ได้
ไทเก็ก ถือเป็นกิจกรรม หรือกีฬาที่นิยมอย่างมากในประเทศจีน เป็นการปรับปรุงมาจากศิลปะการต่อสู้แบบโบราณ “มวยไืืิื้ทเก็ก” คือศาสตร์การเคลื่อนไหวและผ่อนคลาย ซึ่งเชื่อว่าเป็นยาชั้นดี และเป็นการยืดพลังงานชีวิต และทำให้
ร่างกายแข็งแรงขึ้น กีฬานี้ง่ายสำหรับการเรียนรู้ ซึ่งสามารถทำการจองโดยตรงได้ที่โรงเรียนของเรา

ชมเมืองปักกิ่ง
กำแพงเมืองจีน: ราวๆ 60 กิโลเมตร มุ่งไปสู่ทางเหนือของปักกิ่ง การก่อสร้างเริ่มต้นใน ก่อนคริสตศตวรรษที่ 7 เพื่อป้องกันเมือง และก่อสร้างสำเร็จเมื่อก่อนคริสตศตวรรษที่ 2
พระราชวังต้องห้าม: โลกแห่งความลับของจักรพรรดิจีน ถึง 24 พระองค์
สุสานราชวงศ์หมิง: สุสานอันยิ่งใหญ่มโหฬาร ซึ่งเป็นที่ฝังพระบรมศพของจักรพรรดิราชวงศ์หมิง ถึง 13 พระองค์
จัตุรัสเทียนอันเหมิน และพิพิธภัณท์ประวัติศาสตร์ชาติจีน: เป็นพื้นที่สี่เหลียมจัตุรัส ซึ่งเคยล้อมรอบด้วยศูนย์ กลางของเมืองโบราณ
วัดแห่งสรวงสวรรค์: ทั้งจักรพรรดิราชวงศ์หมิง และราชวงศ์ชิง ได้เดินทางจากพระราชวังต้องห้ามมาที่วัดแห่ง สรวง สวรรค์ทุกๆปีในฤดูหนาว เพื่อบูชา สวดมนตร์ และทำการบวงสรวงต่อสวรรค์ ให้มีการเพาะปลูกที่ดี
วัดลามะ: เป็นศาสนสถานที่น่าประทับใจอีกแห่ง ซึ่งเริ่มต้นก่อสร้างเมื่อปี ค.ศ. 1694 เพื่อเป็นที่ประทับของพระราช โอรสของจักพรรดิคังซี แห่งราชวงศ์ชิง
วัดถานเจ๋อ: ตั้งอยู่บนเนื้อที่ 41 กิโลเมตรทางตะวันตกของเมือง วัดที่สวยงามแห่งนี้ได้ถูกสร้างขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 622

ภูมิประเทศและภูมิอากาศ
เวลาที่ดีที่สุดที่เหมาะจะไปเยือนปักกิ่งคือช่วง ฤดูใบไม้ผลิ และฤดูใบไม้ร่วง ตั้งแต่ช่วงฤดูร้อนอากาศจะค่อนข้างร้อน ฤดูหนาวในปักกิ่ง จะมีหิมะตก และฝนตก อีกทั้งความชื้นแฉะ ซึ่งจะเป็นทุกปี ดังนั้นท่านควรวางแผนการเดินทาง ล่วง หน้าเพื่อความสะดวกสบายมากที่สุดของท่าน
ช้อปปิ้งที่ปักกิ่ง
ถนนหวางฝูจิ่ง เ็้ป็นแหล่งที่ธุรกิจที่คึกคักที่สุดของปักกิ่ง และเป็นที่น่าเยี่ยมชมของนักท่องเที่ยวที่มาครั้งแรก ซึ่งจะ
ไม่ถูกโกง หรือถูกคิดเงินเกินราคาเวลาท่านช้อปปิ้ง สถานที่อื่นๆที่เป็นที่นิยมก็คือ ศูนย์กลางการค้าโลกของจีน (China World Trade Center) หรือ ซิตันช้อปปิ้งอาเขต ซึ่งมีสินค้ามากมายหลายชนิด รวมถึงร้านอาหารมากมาย ตลาดหลิวลิฉ่าง ถูกสร้างขึ้นใหม่ให้ดูเหมือนรูปแบบเดิมในสมัยราชวงศ์ชิง ซึ่งรวบรวมไว้ด้วย ภาพวาดจีน การเขียนแบบจีน หนังสือหายาก ศิลปะ และงานฝีมือ

อาหารการกินในปักกิ่ง
มีมากมายหลากหลายพันสถานที่รับประทานอาหารในปักกิ่ง รวมอาหารทุกชนิดจากที่ต่างๆห้างสรรพสินค้าใหญ่ๆ
และแหล่งธุรกิจต่างๆ จะมีร้านอาหารมากมายให้เลือกซื้อ และราคาสามารถต่อรองกันได้ ในพื้นที่ของมหาวิทยาลัย
ในปักกิ่ง (ประมาณเกือบ 15 แห่ง) มีร้านอาหารและโรงอาหารสำหรับนักเรียนมากมาย

เรื่องชื่อตำแหน่งในเรือสำเภาจีน






lผู้ควบคุมบัญชาการสูงสุด 宝船最高指挥官(เบ่าฉวนจุ้ยกาวจื่อฮวยกวน) คือ แม่ทัพเจิ้งเหอ หรือแม่ทัพซำปอกง

lคณะควบคุมบัญชาการสูงสุดสูงสุด มี ๗ คน ในฐานะตัวแทนแห่งองค์จักรพรรดิมังกร

lผู้บัญชาการเรือของแต่ละเรือ ชื่อ ไต้ก๋ง(船长ฉวนจ่าง)

lลูกเรือ 班碇手ปานเตี้ยนโส่ว

lนักพยากรณ์อากาศ นักโหราศาสตร์ ชื่อ 阴阳官 ยินหยังกวน

lนักภาษาศาสตร์ ล่าม ชื่อ 通事 นายท่องสื่อ

lแพทย์และนักเภสัชสมุนไพร ชื่อ 医官 ยีกวน

lนักสอนศาสนาอิสลาม และ พระสงฆ์ในพุทธศาสนา ชื่อ 传教士 僧侣 ฉวนเจี้ยวซื่อ ซึงหล่วย

lนักบัญชี ชื่อ 书写手 ซูเสี่ยโส่ว

lผู้บัญชาการฝ่ายทรัพยากร 鸿舻寺序班 หงหลูซื่อซู่ปาน

lช่างไม้ 木棯มู่เหนี่ยน
lช่างซ่อมบำรุง 搭材 ตาฉาย

วัดเจดีย์หลวง


วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร เป็นวัดเก่าแก่ในจังหวัดเชียงใหม่ มีชื่อเรียกหลายชื่อ ได้แก่ ราชกุฏาคาร วัดโชติการาม สร้างขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้าแสนเมืองมากษัตริย์ลำดับที่ 7 แห่งราชวงศ์มังราย ไม่ปรากฏปีที่สร้างแน่ชัด สันนิษฐานว่าวัดแห่งนี้น่าจะสร้างในปี พ.ศ. 1928-พ.ศ. 1945 วัดเจดีย์หลวงเป็นพระอารามหลวงแบบโบราณ มีการบูรณะมาหลายสมัย โดยเฉพาะพระเจดีย์ ที่ปัจจุบันมีขนาดความกว้างด้านละ 60 เมตร เป็นองค์พระเจดีย์ที่มีความสำคัญที่สุดองค์หนึ่งในเชียงใหม่
วัดเจดีย์หลวงสร้างอยู่กลางใจเมืองเชียงใหม่ ซึ่งแต่เดิมถือว่าเป็นศูนย์กลางทางการปกครองของอาณาจักรล้านนา ตั้งอยู่เลขที่ 103 ถนนพระปกเกล้า ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ มีเนื้อที่ภายในวัดประมาณ 32 ไร่ 1 งาน 27 ตารางวา





ประวัติ


จุลศักราช 289 (พ.ศ. 1874พระเจ้าแสนภู โปรดให้สร้างเมืองเชียงแสน และต่อมาอีก 4 ปีทรงสร้างมหาวิหารขึ้นในท่ามกลางเมืองเชียงแสน [2] คือวัดเจดีย์หลวงองค์ที่ 1 ซึ่งอยู่ในวัดพระเจ้าตนหลวง เมืองเชียงแสน สมัยพระเจ้าแสนเมืองมาซึ่งเป็นโอรสของพระเจ้ากือนา ขณะที่มีพระชนมมายุ 39 ปี พระองค์โปรดให้สร้างพระเจดีย์หลวงกลางเมืองเชียงใหม่ แต่ยังไม่ทันแล้วเสร็จดีก็ทรงสวรรคต พระราชินีผู้เป็นอัครมเหสีของพระองค์ ได้โปรดให้ทำยอดพระธาตุเจดีย์หลวงจนแล้วเสร็จ
ปี พ.ศ. 2055 พระราชา (พระเมืองแก้ว) พร้อมด้วยชาวเมืองทั้งหลาย เอาเงินมาทำกำแพงล้อมพระธาตุเจดีย์หลวง 3 ชั้นได้เงิน 254 กิโลกรัม จากนั้นจึงได้เอาเงินมาแลกเป็นทองคำจำนวน 30 กิโลกรัม แล้วแผ่เป็นแผ่นทึบหุ้มองค์พระธาตุเจดีย์หลวง เมื่อรวมกับทองคำที่หุ้มองค์พระเจดีย์หลวงอยู่เดิม ได้น้ำหนักทองคำถึง 2,382.517 กิโลกรัม
ประมาณ พ.ศ. 2088 สมัยพระนางจิระประภามหาเทวี ได้เกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในเชียงใหม่ จึงทำให้ยอดพระเจดีย์หลวงหักพังทลายลงมา หลังจากนั้นพระเจดีย์หลวงจึงถูกทิ้งให้ร้างมานานกว่า 400 ปี กระทั่งปี พ.ศ. 2423 พระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 7 ได้รื้อพระวิหารหลังเก่าและสร้างวิหารหลวงขึ้นใหม่ด้วยไม้ทั้งหลัง
ช่วงปี พ.ศ. 2471-2481 สมัยพลตรีเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์สุดท้าย ถือได้ว่าเป็นทศวรรษแห่งการบูรณะครั้งสำคัญของวัดพระเจดีย์หลวง ได้มีการรื้อถอนสิ่งปรักหักพัง แผ้วถางป่าที่ขึ้นปกคุลมโบราณสถานต่างๆ ออก แล้วสร้างเสริมเสนาสนขึ้นใหม่ให้เป็นวัดสมบูรณ์แบบในเวลาต่อมา
พระเจดีย์หลวง ได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่โดยกรมศิลปากร เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2533 ใช้งบประมาณในการบูรณะถึง 35 ล้านบาท แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2535
แต่เดิมวัดเจดีย์หลวง ชื่อ “โชติการามวิหาร” แปลว่า พระอารามที่มีแต่ความรุ่งเรืองสว่างไสว เนื่องจากเป็นสถานที่บรรจุพระเกศาธาตุ และพระธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีเรื่องเล่าต่อกันมาว่า ในกาลครั้งหนึ่ง เมื่อพระเจ้าอโศกมหาราช ส่งสมณะทูต 8 รูป ภายใต้การนำพระโสณะ และ พระอุตตะระ เข้ามาเผยแพร่พระพุทธศาสนาในเขตสุวรรณภูมิ รวมทั้งภูมิภาคนี้ด้วย ได้นำเอาพระบรมธาตุมาบรรจุไว้ในองค์เจดีย์องค์เล็กสูง 3 ศอก ที่สร้างขึ้น ณ บริเวณอันเป็นที่ตั้งของพระธาตุเจดีย์หลวงในปัจจุบัน ในเวลานั้นมีมีชายผู้หนึ่ง อายุ 120 ปี มีใจเลื่อมใส ได้แก้เอาผ้าห่มชุบน้ำมันจุดบูชา และได้ทำนายว่า ต่อไปในภายภาคหน้า ตรงนี้จะเป็นอารามใหญ่ชื่อโชติการาม พวกลัวะทั้งหลายเอาข้าวของบูชาพระธาตุพระพุทธเจ้า จึงก่อเจดีย์หลังหนึ่งสูง 3 ศอกไว้เป็นที่สักการบูชา
นอกจากนี้ยังมีความหมายอีกนัยหนึ่งของคำว่า “โชติการาม” คือ เวลาที่มีการจุดประทีปโคมไฟไปประดับบูชาองค์พระธาตุเจดีย์หลวง จะปรากฏจะปรากฏแสงสีสว่างไสว มองเห็นองค์พระเจดีย์คล้ายเชิงเทียนที่มีเปลวไฟลุกโชติช่วงสว่างไสว ดูแล้วมีความงดงามยิ่งนัก สามารถมองเห็นได้แต่ไกล
ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น “วัดเจดีย์หลวง” เนื่องจากในภาษาเหนือ หรือคำเมือง หลวงแปลว่า “ใหญ่” หมายถึง พระธาตุเจดีย์ที่มีขนาดใหญ่




พระธาตุเจดีย์หลวง

พระธาตุเจดีย์หลวงนั้นถือว่าเป็นพระธาตุที่มีความสูงที่สุดในภาคเหนือ หรือล้านนา คือ สูงประมาณ 80 เมตร เมตร ฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างประมาณด้านละ 60 เมตร ถูกสร้างขึ้นในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 20 ถือว่าเป็นเจดีย์ที่มีความสำคัญที่สุดของเมืองเชียงใหม่
พระธาตุเจดีย์หลวงนั้นถูกสร้างขึ้นในในรัชสมัยพญาแสนเมืองมา (พ.ศ. 1928 - 1945) กษัตริย์องค์ที่ 7 แห่งราชวงศ์มังราย ซึงเป็นกษัตริย์ที่ปกครองเมืองเชียงใหม่ในขณะนั้น สร้างขึ้นเพื่ออุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้พญากือนา พระราชบิดา ซึ่งมีตำนานเล่ามาว่า พญากือนาซึ่งได้สวรรคตไปแล้ว ได้ปรากฏตัวแก่พ่อค้าชาวเชียงใหม่ที่เดินทางไปค้าขายที่พม่า ให้มาบอกว่าแก่พญาแสนเมืองมาผู้เป็นโอรสว่า ให้สร้างเจดีย์ไว้ท่ามกลางเวียง ให้สูงใหญ่พอให้คนที่อยู่ไกล 2000 วา สามารถมองเห็นได้ แล้วอุทิศบุญกุศลเหล่านนี้ให้แก่พญากือนา เพื่อให้พญากือนานั้นสามารถไปเกิดในเทวโลกได้ แต่พญาแสนเมืองมาเสด็จสวรรคตเสียก่อน พระนางเจ้าติโลกจุฑาราชเทวีผู้เป็นมเหสีได้สืบทอด เจตนารมณ์สร้างต่อ จนเสร็จในรัชสมัยพญาสามฝั่งแกน ใช้เวลาสร้าง 5 ปี
ต่อมาได้มีการปฏิสังขรณ์ในสมัยพญาติโลกราช (พ.ศ. 1984 - 2030) พระองค์โปรดให้หมื่นด้ามพร้าคต นายช่างใหญ่ทำการปฏิสังขรณ์ โดยมีพระมหาสวามีสัทธัมกิติ เจ้าอาวาสองค์ที่ 7 ของวัดโชติการาม (วัดเจย์หลวง) เป็นกำลังสำคัญในการควบคุมดูแล และประสานงาน การปฏิรูปและก่อสร้างครั้งนี้ได้สร้างขยายเจดีย์ให้ใหญ่กว่าเดิม ใช้เวลาในการก่อสร้าง 3 ปี จึงแล้วเสร็จ
ในสมัยมหาเทวีจิรประภา รัชกาลที่ 15 แห่งราชวงศ์มังราย เกิดพายุฝนตกหนัก แผ่นดินไหว พระมหาเจดีย์หลวงได้พังทลายลงมาเหลือเพียงครึ่งองค์ จากนั้นก็ถูกปล่อยทิ้งร้างไปนานกว่า 4 ศตวรรษ พระมหาเจดีย์หลวงที่เห็นปัจจุบันกรมศิลปกรเพิ่งจะ บูรณปฏิสังขรณ์เสร็จไปเมื่อ พ.ศ. 2535

[แก้]เจดีย์หลวงตามคติความเชื่อเรื่องจักรวาลวิทยาของชาวลัวะ

คติความเชื่อเรื่องจักรวาลวิทยา ในยุคแรกใช้อินทขีลเป็นสัญลักษณ์สะท้อนความเชื่อดั้งเดิมของชาวลัวะซึ่งได้ผสมผสานกับความเชื่อของพราหมณ์ ในระยะต่อมาเมื่อพระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองขึ้นมาก ได้ใช้พระธาตุเจดีย์หลวงเป็นสัญลักษณ์ของศูนย์กลางจักรวาล คตินี้เห็นได้ชัดจากการสร้างเจดีย์หลวงให้สูงใหญ่ ตั้งอยู่กลางใจกลางเมือง เช่นเดียวกับเขาพระสุเมรุ ซึ่งเป็นศูนย์กลางจักรวาล
ปัจจุบันบริเวณวัดเจดีย์หลวงกลางเมืองเชียงใหม่ มีสิ่งสักกาละหลากหลายได้แก่ เจดีย์หลวง อินทขีล ต้นยาง กุมภัณฑ์ พระฤๅษี ซึ่งสะท้อนพัฒนาการคติจักรวาลได้ปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ที่แวดล้อมของเมือง
คติเจดีย์หลวงในฐานะศูนย์กลางจักรวาล ปรากฏในคัมภีร์มหาทักษาเมือง กล่าวถึง การสร้างวัดสำคัญในเมืองเชียงใหม่ 9 แห่ง โดยกำหนดให้สอดคล้องกับชัยภูมิ และความเชื่อเรื่องทิศทั้ง 4 และทิศเฉียงอีก 4 เป็น 8 เมื่อทิศทั้ง 8 มาบรรจบกัน เกิดจุดศูนย์กลางรวมกันเป็น 9 ถือเป็นเลขมงคล ตำแหน่งจุดศูนย์กลางเมือง เป็นสะดือเมือง กำหนดให้เป็นเกตุเมืองตรงกับวัดเจดีย์หลวง วัดทั้ง 8 แห่งที่สร้างตามทักษาเมือง คือ
บริวารเมืองทิศตะวันตก (ทิศปัจฉิม)วัดสวนดอก
อายุเมืองทิศตะวันตกเฉียงเหนือ (ทิศพายัพ)วัดเจ็ดยอด
เดชเมืองทิศเหนือ (ทิศอุดร)วัดเชียงยืน
ศรีเมืองทิศตะวันออกเฉียงเหนือ (ทิศอีสาน)วัดชัยศรีภูมิ
มูลเมืองทิศวะวันออก (ทิศบูรพา)วัดบุพพาราม
อุตสาหเมืองทิศตะวันออกเฉียงใต้ (ทิศอาคเนย์)วัดชัยมงคล
มนตรีเมืองทิศใต้ (ทิศทักษิณ)วัดนันทาราม
กาลกิณีเมืองทิศตะวันตกเฉียงใต้ (ทิศหรดี)วัดตโปทาราม






ช้างรอบพระธาตุเจดีย์หลวง


มหาเจดีย์หลวงที่พระนางเจ้าติโลกจุฑาราชเทวีทรงก่อสร้างนั้น พระนางทรงให้ยกฉัตรยอดมหาเจดีย์ แล้วปิดด้วยทองคำ พร้อมทั้งเอาแก้ว 3 ลูก ใส่ยอดมหาเจดีย์นั้นไว้ ประดับด้วยโขงประตูทั้ง 4 ด้าน มี พระพุทธรูปปูนปั้นประทับนั่งในโขงทั้ง 4 ด้าน มีรูป พญานาคปั้นเต็มตัว 8 ตัว ตัวละ 5 หัว อยู่ใน 2 ข้างบันได รูปปั้นราชสีห์ 4 ตัว ตั้งอยู่ตรงสี่มุมของมหาเจดีย์ มีรูปปั้นช้างค้ำรายล้อมรอบองค์เจดีย์หลวงนั้นมี 28 เชือก แต่ในประวัติศาสตร์มีเพียง 8 เชือกเท่านั้น ที่มีการตั้งชื่อให้เฉพาะ ซึ่งชื่อช้าง 8 เชือกที่ล้อมเจดีย์หลวง นับจากนับตามลำดับตั้งแต่ตัวที่อยู่ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ (ทิศอีสาน) เวียนมาตามทอศตะวันออก มีดังนี้ [4]


ตัวที่1เมฆบังวันตัวที่2ข่มพลแสน
ตัวที่3ดาบแสนด้ามตัวที่4หอกแสนลำ
ตัวที่5ก๋องแสนแหล้งตัวที่6หน้าไม้แสนเปียง
ตัวที่7แสนเขื่อนก๊านตัวที่8ไฟแสนเต๋า

การสร้างรูปปั้นช้างนั้น เป็นการส่งเสริมกำลังเมืองในทางด้านไสยศาสตร์เพื่อให้เมืองมีความแข็งแรงยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังมีพิธีการสักการบูชาพญาช้างทั้ง 8 เชือก เพราะเชื่อว่า จะทำให้เกิดสวัสดิมงคล นำความสงบสุขมาสู่บ้านเมือง ศัตรูไม่กล้ามารุกรานย่ำยีเมืองได้ เพราะชื่อพญาช้างที่ตั้งขึ้นนั้น เป็นพลังอำนาจก่อเกิดเดชานุภาพ อิทธิฤทธิ์ ข่มขู่บดบัง ขวางกั้น กำจัด ปราบปรามอริราชศัตรูที่จะมารุกราน ให้แพ้ภัยแตกพ่ายหนีไปเอง ซึ่งแต่ละชื่อมีความหมายดังนี้ [5]
  1. เมื่อศัตรูยกพลเสนามารุกราน ล่วงล้ำเข้ามาในเขตพระราชอาณาจักร จะเกิดอาเพศ ท้องฟ้ามืดมิดด้วยเมฆหมอกปกคลุม ธรรมชาติวิปริตแปรปรวน น่ากลังยิ่งนัก ทำให้ผู้รุกราหวาดผวาภัยพิบัติ ตกใจกลัวแตกพ่ายหนีไป จึงได้ชื่อว่า “เมฆบังวัน”
  2. เมื่อผู้รุกรานยกทัพเข้ามาใกล้ แม้จะมีพลโยธาทหารกล้าเรือนแสน ก็จะเกิดอาการมึนเมาลืมหลง ไม่อาจครองสติยับยั้งอยู่ได้ ต้องระส่ำระส่าย แตกพ่ายหนีไป จึงได้ชื่อว่า “ข่มพลแสน”
  3. เมื่อข้าศึกศัตรูผู้รุกรานเข้ามา แม้จะมีกำลังพลมากมาย มีศาตรา มีด พร้า ด้ามคมเป็นแสนๆเล่ม ก็ไม่อาจเข้าใกล้ทำร้ายได้ มีแต่จะเกิดหวาดหวั่นขาดกลัวแตกหนีไป จึงได้ชื่อว่า “ดาบแสนด้าม”
  4. เมื่อข้าศึกศัตรูผู้รุกรานเข้ามารานรบ แม้จะมีกำลังพลกล้าหาญมากมาย มีศาสตราอันคมยาว หอกแหลนหลาวเป็นแสน ก็ไม่อาจเข้ามาราวีได้ จึงต้องแตกพ่ายหนีไป จึงได้ชื่อว่า “หอกแสนลำ”
  5. เมื่อข้าศึกศัตรูผู้รุกรานเข้ามา แม้จะมีกำลังพลจำนวนมาก มีอาวุธปืนเป็นแสนกระบอก ก็ไม่สามารถทำอันตรายได้ ต้องแตกพ่ายหนีไป จึงได้ชื่อว่า “ปืนแสนแหล้ง”
  6. เมื่อผู้รุกรานบุกรุกเข้ามา แม้จะมีกำลังพลมากมาย มีหน้าไม้คันธนูเป็นแสนๆ ไม่สามารถทำอันตรายได้ ต้องแตกพ่ายหนีไป จึงได้ชื่อว่า “หน้าไม้แสนเกี๋ยง”
  7. เมื่อข้าศึกอาจหาญล้ำแดนเข้ามา แม้ด้วยกำลังพลหัตถีนึก กองทัพช้างมีเป็นแสนเชือก ก็ไม่อาจหักหาญเข้ามาได้ มีแต่จะอลม่านแตกตื่นแกหนีไปสิ้น จึงได้ชื่อว่า “แสนเขื่อนกั้น” (บางแห่งเป็น แสนเขื่อนก๊าน)
  8. เมื่อข้าศึกเข้ามาหมายย่ำยี ก็จะเกิดอาการร้อนเร่าเหมือนเพลิงเผาผลาญรอบด้าน เลยแตกพ่ายหนีไปด้วยความทุกข์ทรมาน จึงได้ชื่อว่า “ไฟแสนเต๋า”

[แก้]สรุปประวัติพระเจดีย์หลวง

พระเจดีย์หลวงสร้างขึ้นในรัชสมัยของพญาแสนเมืองมา เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้พญากือนา พระราชบิดา แต่สร้างไม่เสร็จ ได้เสด็จสวรรคตเสียก่อน ต่อมาพระนางเจ้าติโลกจุฑาราชเทวี พระมเหสีของพญาเมืองมา ก่อสร้างต่อจนแล้วเสร็จในรัชสมัยพญาสามฝั่งแกน เรียกกันว่า “กู่หลวง” พญาติโลกราช โปรดให้หมื่นด้ามพร้าคตเป็นนายช่างใหญ่ดำเนินการปฏิสังขรณ์รพระเจดีย์หลวง ตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. 2021 ในรัชสมัยพระเจ้ายอดเชียงรายได้ปิดทองภายในซุ้มจรนัมของพระเจดีย์ หลวงทั้ง 4 ด้าน
ในรัชสมัยพระเจ้าเมืองแก้ว เมื่อ พ.ศ. 2046 ได้โปรดให้สร้างหอพระแก้ว และอัญเชิญพระแก้วมรกตลงมาประดิษฐาน สร้างมหาวิหาร ส่วนการบูรณะพระเจดีย์หลวงได้ดำเนินการเพียงเล็กน้อย
ในที่สุดเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ ในปีพ.ศ. 2088 ในรัชสมัยพระนางเจ้ามหาเทวีจิรประภา ยอดพระเจดีย์หลวงก็พังทลายลงมา เหลือให้เห็นดังสภาพปัจจุบัน (ก่อนการบูรณะของกรมศิลปกร)





การประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน

วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร ได้รับการประกาศเป็นโบราณสถานสำหรับชาติ ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 52 ตอนที่ 0ง วันที่ 8 มีนาคม 2478 พร้อมกับวัดอีกหลายแห่งในจังหวัดเชียงใหม่[6]

[แก้]ลำดับเจ้าอาวาส

นับตั้งแต่วัดเจดีย์หลวงได้รับการฟื้นฟูในสมัยเจ้าแก้วนวรัฐ วัดเจดีย์หลวงมีเจ้าอาวาสปกครองมาแล้ว 8 รูป[7][8]ดังนี้
ลำดับที่รายนามเริ่มวาระสิ้นสุดวาระ
1พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท)พ.ศ. 2471พ.ศ. 2474
2พระครูวินัยธรมั่น ภูริทตฺโตพ.ศ. 2475พ.ศ. 2475
3พระครูนพีสีพิศาลคุณ (ทอง โฆษิโต)พ.ศ. 2476พ.ศ. 2476
4พระพุทธิโศภน (แหวว ธมฺมทินฺโน)พ.ศ. 2477พ.ศ. 2502
5*พระญาณดิลก (พิมพ์ ธมฺมธโร)พ.ศ. 2480พ.ศ. 2483
6พระธรรมดิลก (ขันธ์ ขันติโก)พ.ศ. 2503พ.ศ. 2534
7พระพุทธพจนวราภรณ์ (จันทร์ กุสโล)พ.ศ. 2534พ.ศ. 2551
8พระราชเจติยาจารย์ (ชูเกียรติ อภโย)พ.ศ. 2553ปัจจุบัน
  • พระญาณดิลก (พิมพ์ ธมฺมธโร) มาดำรงตำแหน่งพิเศษในฐานะผู้กำกับการคณะสงฆ์ มิใช่เจ้าอาวาส

[แก้]อ้างอิง

  1. ^ http://www.chiangmainews.co.th/viewnews.php?id=16402&lyo=1
  2. ^ หนังสือชินกาลมาลีปกรณ์ แปลโดย ศาสตราจารย์แสง มนวิฑูร พิมพ์เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2501
  3. ^ จิตร ภูมิศักดิ์, เชียงใหม่, หอศิลป์วัฒนธรรม เมืองเชียงใหม่, 2550
  4. ^ สงวน โชติสุขรัตน์, ประชุมตำนานล้านนาไทย, กรุงเทพฯ, โอเดียนสโตร์, 2515
  5. ^ ธนจรรย์, พระครู, เกร็ดประวัติวัดเจดีย์หลวง ฉบับสมโภช 700 ปี นครเชียงใหม่, เชียงใหม่, วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร, 2539, หน้า 82-83
  6. ^ ประกาศกรมศิลปากร กำหนดจำนวนโบราณสถานสำหรับชาติ
  7. ^ วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร, พิมพ์ครั้งที่ 2, 2547, หน้า 39
  8. ^ เจ้าอาวาสวัดเจดีย์หลวงวรวิหารรูปที่ ๘ พระราชเจติยาจารย์ (ชูเกียรติ อภโย)เชียงใหม่นิวส์

[แก้]




แหล่งข้อมูลอื่น

  • สงวน โชติสุขรัตน์. ตำนานเมืองเหนือ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์, 2508.
  • ผจงวาด กมลเสรีรัตน์. นิทานพื้นบ้านภาคเหนือ. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น, 2545.
  • สุรพล ดำริห์กุล. แผ่นดินล้านนา. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2539.
  • อัจฉรา วรรณเอก. นิทานพื้นบ้านล้านนา. กรุงเทพฯ : โอ เอส พริ้นติ้ง เฮ้าส์, 2539.
  • กระทรวงศึกษาธิการ. เล่าเรื่องเมืองเหนือว่าด้วยสถานที่สำคัญต่าง ๆ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา, 2522.
  • ณัฐกานต์ ลิ่มสถาพร. เชียงใหม่หัวใจล้านนา. กรุงเทพฯ : ภัคธรรศ, 2544.
  • อนุรัตน์ วัฒนาวงศ์สว่าง. เชียงใหม่. กรุงเทพฯ : สารคดี, [2547].
  • สุดารา สุจฉายา. เชียงใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สารคดี, 2543.
  • ทรงศักดิ์ ปรางค์วัฒนากุล. ล้านนาอันอุดม. เชียงใหม่ : คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2549
  • ตำนานพระธาตุวัดเจดีย์หลวง เชียงใหม่. เชียงใหม่ : โรงพิมพ์ศรีหงส์, 2473.
  • เสนอ นิลเดช. ศิลปะสถาปัตยกรรมล้านนา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพนฯ : เมืองโบราณ, 2539.
  • วิทยาลัยครูเชียงใหม่ ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่. วัดสำคัญของนครเชียงใหม่. เชียงใหม่ : วิทยาลัย, 2541.